ข้อควรรู้การเลี้ยงสุนัข พฤติกรรมแบบไหนที่จะทำให้สุนัขเบื่ออาหาร

ข้อควรรู้การเลี้ยงสุนัข พฤติกรรมแบบไหนที่จะทำให้สุนัขเบื่ออาหาร

ปกติแล้วจะมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกันสำหรับปัญหา สุนัขเบื่ออาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากอาการเจ็บป่วยของสุนัขเอง แต่ถ้าคุณมั่นใจแล้วว่าสุนัขของคุณไม่ได้มีอาหารเจ็บป่วยใดๆ แล้วทำไมถึงยังมีอาการเบื่ออาหารอยู่ ให้ลองมาสังเกตพฤติกรรมของตัวเองดู ว่ามีพฤติกรรมที่ทำให้สุนัขของตัวเองเบื่ออาหารหรือเปล่า บทความนี้จะมาแชร์เกี่ยวกับ ต้นเหตุสุนัขเบื่ออาหาร ที่เกิดจากเจ้าของกัน สุนัขเบื่ออาหาร – ให้กินอาหารไม่เป็นเวลา ข้อนี้เป็นส่วนท่ำคัญมาก เพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วสุนัขจะรู้ว่าเวลาไหนเจ้าขอทำอะไร และเวลาไหนเป็นมื้ออาหารของตน ถ้าหากคุณให้อาหารเขาไม่ตรงเวลา น้องหมาอาจจะเกิดอาการสับสนเอาได้ และจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และในบางกรณ๊ที่เจ้าของกลัวสุนัขหิวเลยให้อาหารเป็นแบบบุฟเฟ่ต์ คือน้องหมาจะมากินเมื่อไรตอนไหนก็ได้ พฤติกรรมแบบนี้ก็จะทำให้สุนัขของคุณไม่รู้ว่าเวลาไหนเป็นมื้อที่ควรกิจอาหาร เพราะสามารถกินได้ตลอดเวลา สำหรับการที่ให้อาหารสุนัขแบบนี้อาจจะทำให้น้องหมาเบื่ออาหารของตัวเอง สุนัขเบื่ออาหาร – ให้อาหารคน แน่นอนว่ามนุษย์ที่เลี้ยงสัตว์อย่างเราอาจจะมีอาการใจอ่อนเวลาสุนัขมาทำตัวอ้อนน่รารักขออาหารจากมนุษย์อย่างเรา ซึ่งอาหารคนก็มีกลิ่นหอมยั่วยวนที่มากกว่า รวมไปถึงมีการปรุงรสอีกด้วย แน่นอนว่ามันต้องอร่อยถูกใจมากกว่าอาหารของพวกเขาอย่างแน่นอน หากคุณให้กินอาหารคนบ่อยๆ บอกเลยว่าน้องหมาของคุณจะไม่ค่อยกินอาหารสุนัขอีกต่อไป เพราะมันไม่อร่อยเท่า อีกทั้งจะทำให้น้องหมามีพฤติกรรมเอาแต่ใจอีกด้วย ถ้าคุณตามใจทุกครั้งที่คุณให้อาหารคนกับเขา เพราะเขาจะเคยตัวนั่นเอง สุนัขเบื่ออาหาร – ให้กินขนมสุนัขบ่อยๆ สำหรับข้อนี้เป็นจุดอ่อนและจุดพลาดของเจ้าของสุนัขหลายๆคนเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการให้ขนมทานเล่นสุนัขควรให้จำนวนที่น้อยมากๆ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะให้ทีละเยอะๆ ซึ่งนอกจากจะไม่มีต่อสุขภาพของสุนัขในเรื่องของการย่อย ท้องอืด รวมไปถึงขับถ่ายลำบากแล้ว ก็ยังทำให้น้องหมาจะมีพฤติกรรมเลือกกินอาหารอีกด้วย เพราะฉะนั้นทางที่ดีคุณไม่ควรให้ขนมสุนัขกินบ่อยๆ และพร่ำเพรื่อ เพราะตรงนี้จะส่งผลเวลาที่คุณฝึกสุนัขอีกด้วย มันจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ยั่วยวนใจอีกต่อไปนั่นเอง ทางที่ดีหากไม่อยากให้ สุนัขเบื่ออาหาร คุณควรปรับพฤติกรรมการให้ขนมสุนัขเสียใหม่ #สุนัขเบื่ออาหาร […]

ข้อควรรู้ สาเหตุ 4 ข้อ ที่ทำให้น้องหมาหอบ สุนัขหอบเกิดจากอะไรได้บ้าง

ข้อควรรู้ สาเหตุ 4 ข้อ ที่ทำให้น้องหมาหอบ สุนัขหอบเกิดจากอะไรได้บ้าง

เวลาที่สุนัขรู้สึกเหนื่อยๆ มักจะหอบเป็นธรรมดา แต่ในบางครั้งถ้า อาการหอบของสุนัข ไม่ธรรมดาละ ดูมีอาการแปลกๆเหมือนจะเป็นอะไรบางอย่าง แล้วมันจะสามารถเกิดจากสาเหตุไหนได้บ้างนะ บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับ สาเหตุที่สุนัขหอบ ความเป็นไปได้ว่า อาการหอบของหมา ดังกล่าวจะมาจากสาเหตุไหนกันบ้าง สาเหตุอาการหอบของสุนัข – โรคหัวใจและปอด ในสาเหตุนี้มีความเป็นไปได้สำหรับสุนัขที่มีอาการหอบ เหนื่อยง่าย หายใจค่อนข้างลำบาก ทั้งๆที่ไม่ได้ออกกำลังกาย แถมยังมีอาการอ่อนแรงบวกกับไอแห้งๆ มักจะเป็นในเวลากลางคืนและเวลาที่เขานอนราบ อาจจะเกิดจากการที่หัวใจทำงานผิดปกติ สูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนอื่นๆของร่างกายไม่ทัน เลยทำให้เกิดภาวะแบบนี้ หรือในกรณีที่เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ไม่ดี ร่างกายต้องมีการปรับตัวโดยเพิ่มความถี่ของการหายใจ สาเหตุอาหารหอบของสุนัข – ความเครียดและอาการหวาดกลัว สำหรับในกรณีนี้จะเป็นแรงกระตุ้นที่มาจากสภาพแวดล้อม จนทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณเกิดอาหารกระวนกระวาย รู้สึกไม่สบายใจและไม่ปลอดภัย ร่างกายจึงตอบสนองด้วยการหายใจที่ถี่ขึ้นหรือหอบนั่นเอง อาจจะมาจากการตกใจจากเสียงที่ดังอย่าง เสียงพลุ ทำให้เขามีอาการและแสดงท่าทีแปลกๆ ซึ่งเป็นอาการหวาดกลัว คล้ายๆกับคนบางคนที่เวลามีความวิตกบางอย่างจะทำให้หายใจไม่ทัน หายใจหอบ เป็นต้น สาเหตุอาการหอบของสุนัข – ความเจ็บปวด เวลาที่ร่างกายของน้องหมาเจ็บปวด จะมีกระบวนการทางร่างกายที่ไปเร่งการทำงานของกัวใจแต่อัตราการหายใจของพวกเขาให้เพิ่มมากขึ้น เจ้าของควรสังเกตอาการของน้องหมาของคุณว่า การหายใจที่เร้วผิดปกตินี้ของเขามีอาการอื่นร่วมหรือเปล่า มีการบาดเจ็บตรงไหนหรือเปล่า เราจะเห็นกรณีตัวอย่างได้จาก น้องหมาที่บาดเจ็บจากการถูกรถชนก็จะมีอาการหายใจหอบให้ได้เห็น เป็นต้น สาเหตุอาการหอบของสุนัข – ภาวะฮีทสโตรก สำหรับในกรณีนี้อาจจะเรียกได้ว่าพบง่ายมากพอสมควร […]

ข้อควรระวังสำหรับการเลี้ยงสุนัข ข้อควรระวังสำหรับการให้ยาสุนัข

ข้อควรระวังสำหรับการเลี้ยงสุนัข ข้อควรระวังสำหรับการให้ยาสุนัข

เวลาที่สุนัขป่วยในบางครั้ง ถึงแม้จะไม่น่าเป็นห่วงมาก แต่ก็ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสมและถูกต้อง เพราะฉะนั้นแล้วหนึ่งในวิธีที่เราจะต้องดูแลสุนัขเวลาป่วยเลยก็คือ การให้ยาสุนัข ซึ่งเจ้าของบางคนก็อาจจะออกไปซื้อยามาให้สุนัขเอง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการทำแบบนี้มีข้อควรระวังอยู่ด้วย เพราะเป็นเรื่องที่ถ้าผิดพลาดไปอาจจะทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพของสุนัขของคุณเลยทีเดียว บทความนี้จะมาบอกข้อควรรู้สำหรับการให้ยาสุนัขกันว่ามีข้อไหนที่ควรระวังกันบ้าง การให้ยาสุนัข – การให้ยาฆ่าเชื้อ สำหรับเรื่องนี้หลายๆคนอาจจะทำแบบนี้อยู่ เวลาที่สุนัขป่วยก็ไปซื้อยาฆ่าเชื้อมาให้สุนัขทานอย่างพร่ำเพรื่อ หรือมียาเหลือจากครั้งก่อน แล้วอยากจะให้สุนัขทานเพื่อรักษาอาการป่วยอีก ขอบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการให้ยาฆ่าเชื้อแก่สุนัขพร่ำเพรื่อนั้น จะสามารถทำให้เชื้อดื้อยาเอาได้ เพราะฉะนั้นการให้ยาฆ่าเชื้อควรอยู่ในคำแนะนำของสัตวแพทย์นั่นเอง การให้ยาสุนัข – การให้ยาผิดวิธี ยาสุนัขก็เหมือนยาของมนุษย์ที่จะมีรูปแบบที่หลากหลาย การใช้ยาที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่ายาทุกชนิดจะใช้เหมือนกันจะกินเหมือนกัน ตอนไหนก็ได้ คุณควรศึกษาและระวังในเรื่องของการให้ยาดีๆ ว่ายาไหนเป็นยากิน หรือยาไหนเป็นยาเหน็บ รวมไปถึงการกินก่อนหรือหลังอาหาร เพราะยาพวกนี้จะมีผลต่อการรักษาด้วย หากคุณไม่ให้ยาน้องหมาอย่างถูกวิธี โอกาสที่เขาจะหายเป็นปกติก็จะน้อยลงไปด้วย การให้ยาสุนัข – การให้ยาเกินขนาด ในกรณีที่เจ้าของอาจจะหวังดีแล้วอยากให้สุนัขของตัวเองหายจากอาการป่วยโดยเร็ว จึงให้ยาสุนัขในปริมาณที่มากเกินไป หรือในบางกรณีที่ให้บ่อยจนเกินไป สำหรับการให้ยาเกินขนาดไม่ได้หมายความว่าสุนัขของคุณจะมีอาการหายป่วยเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันอาจจะทำให้อาการทรุดลงไปมากกว่าเดิมก็ได้ เพราะยาบางตัวก็แรงเกินกว่าที่จะให้ในปริมาณมากๆ การให้ยาสุนัข – ให้ระยะเวลาที่สั้นเกินไป ข้อนี้อาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยพอสมควร เมื่อคุณพาสุนัขไปหาหมอแล้วให้ยา แต่สุนัขของคุณอาการดีขึ้นทั้งๆที่ยายังไม่หมด คุณจึงหยุดให้ พฤติกรรมนี้ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหากไม่ได้รับอนุญาตจากคุณหมอ เพราะว่าอาจจะทำให้น้องกลับมาเป็นอีกครั้ง เพราะฉะนั้นหากคุณหมอสั่งให้น้องหมาทานยาให้ครบคุณก็ควรดูแลสุนัขตามคำสั่งของคุณหมอด้วย เป็นอีกหนึ่ง ข้อควรรู้การให้ยาสุนัข […]

วิธีแก้ปัญหาทางจิตใจให้กับสุนัข

วิธีแก้ปัญหาทางจิตใจให้กับสุนัข

สุนัขบางตัวที่เราเลี้ยงไปอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากการเลี้ยงดูของเราที่มีเวลาให้น้อย พื้นที่เลี้ยงคับแคบ หรือเกิดจากตัวสุนัขเอง เช่นวัยที่แก่มากขึ้น ลักษณะนิสัยพื้นเดิมที่มีอยู่แล้ว ความน้อยใจ การเปรียบเทียบตัวเองกับตัวอื่นว่าจะมีตัวไหนได้ความรักมากกว่าตัวเองหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ถ้าผู้เลี้ยงรู้เร็วการแก้ปัญหาก็จะง่าย แต่ถ้าปล่อยให้ปัญหาอยู่กับตัวสุนัขเป็นเวลานานการแก้ปมก็จะยิ่งยากมากขึ้น ดังนั้นเมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงมีพฤติกรรมใดๆ ที่เปลี่ยนแปลง หรือแปลกไปที่ไม่เกี่ยวกับอาการทางร่างกาย การแก้ไขสามารถทำได้จากผู้เลี้ยงในเบื้องต้น 1.สร้างกลเม็ดใหม่ๆ เพื่อดึงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ออก เมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงเริ่มมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ อย่างเช่น การปลีกตัวจากเรา หรือตัวอื่น การซึม กินได้น้อยลง ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องตรวจร่างกายทางกายภาพก่อนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคภัยทางร่างกายหรือไม่ ถ้าผลสมบูรณ์ดี สิ่งที่ผู้เลี้ยงเปลี่ยนแปลงอาการทางจิตใจของสุนัขได้ง่ายๆ คือการนำเอาสิ่งอื่นที่น่าดึงดูด ตื่นเต้นมาแทนที่สิ่งเก่าๆ ที่เป็นแผลทางใจ อย่างเช่น มีช่วงเวลาก่อนหน้าที่เราละเลยสุนัข ไม่มีเวลาให้เลย มุ่งทำงาน เจอกันแค่ตอนค่ำเลิกงาน สุนัขมีท่าทางจากร่าเริงเป็นเซื่องซึม นั่ง นอน ไม่มีกิจกรรมวิ่งเล่นใดๆ  สิ่งที่เราทำได้คือ หาอะไรที่มาแทนที่ความเซื่องซึมของสุนัขเรา เช่น ซื้อตุ๊กตามาเล่นด้วยกัน สุนัขจะชอบสิ่งของ ตุ๊กตา ลูกบอลที่ต้องใช้การคาบ หรือโยนให้วิ่งไปคาบมาให้ หรือแกล้งเล่นเอาผ้าปิดตาเพื่อเร้าให้สุนัขลืมในสิ่งที่จดจ่อทางลบ แต่อย่างไรก็ตามการหากิจกรรมมาเล่นกับสุนัขควรทำหลังจากที่กินอาหาร 1 ชั่วโมง ซึ่งนอกจากจะให้สุนัขมีร่างกายที่พร้อม ไม่หิว ไม่หงุดหงิด ยังช่วยให้ลดปัญหาอาหารขย้อนออกมาตอนเล่นอีกด้วย 2.จัดสรรให้สุนัขมีอะไรทำ ส่วนใหญ่ก็จะหนีไม่พ้นกิจกรรม หรือเป็นการออกกำลังกาย […]

หัวใจสำคัญที่ทำให้สุนัขสูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง 1

หัวใจสำคัญที่ทำให้สุนัขสูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง 1

เมื่อวันแรกที่เราได้อ้าแขนต้อนรับสุนัข สัตว์เลี้ยงที่เราเห็นทั้งความน่ารักที่มาพร้อมกับความซุกซน ตัวเล็ก ขี้อ้อน ด้วยนิสัยต่างๆ เหล่านี้ที่มาพร้อมกับวัยที่ยังเล็กอยู่ จนมาถึงวันที่เราได้เลี้ยงดูมาเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไปอาจไม่ใช่เพียงแค่ระยะเวลาเท่านั้นที่เพิ่มมากขึ้นในการเลี้ยงดู แต่เป็นวัย และอายุของสุนัขที่เพิ่มมากขึ้นไปพร้อมกับความแปรเปลี่ยนในหลายสิ่งหลายอย่างทั้งกายภาพ และพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะเป็นสัญญาณให้กับเจ้าของได้เริ่มรับรู้แล้วว่า ควรถึงเวลาที่จะปรับเปลี่ยนทั้งการเลี้ยงดู และการดูแลในเรื่องจิตใจร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่ก่อนที่สุนัขจะเริ่มเข้าสู่วัยที่เรียกว่า เริ่มชราภาพ หรือสูงวัยแล้วควรที่จะมีการเตรียมตัวขั้นพื้นฐานก่อนที่จะให้สุนัขได้ค่อยๆ มีการปรับตัวทั้งกับอารมณ์ การกินอยู่ และนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไป (ซี่งตัวสุนัขเองก็อาจจะไม่รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีก 2 ปีข้างหน้านี้) รวมถึงการปรับตัวของเจ้าของที่จะเปลี่ยนแปลงการดูแลเสมือนได้สุนัขตัวใหม่มาอยู่ร่วมด้วย เพราะเกือบจะทุกอย่างที่จะต้องปรับเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นการดูแล การมีปฏิกิริยาตอบสนอง การกินอยู่ (กายภาพ) ด้านการกิน ถือว่าเป็นรื่องสำคัญในอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ในส่วนของเราที่เมื่อทำงานมาก พักผ่อนน้อย สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ หาอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกายในช่วงนั้นมากเป็นพิเศษ หรือถ้าเป็นพ่อแม่ของเราก็จะมีเตือนว่า อย่าบำรุงในช่วงเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ แต่เราควรที่จะดูแล บำรุงร่างกายเก็บเป็นแบตเตอร์รี่เพื่อเติมในช่วงเวลาที่ต้องการเร่งด่วน เพราะถ้าในกรณีที่ร่างกายต้องการในตอนนั้นการกินสิ่งมีประโยชน์ตอนนั้นอาจไม่ทันการณ์ในเรื่องของปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงตัวอวัยวะต่างๆ ก็มีความเสื่อมสภาพมากเกินกว่าที่จะเยียวยา สุนัขก็เช่นกัน เรื่องการกินถือว่า เป็นเรื่องหนี่งที่จะสามารถช่วยทำให้สภาพความเสื่อมในอวัยวะต่างๆ ช้าลงได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนเนื้อสมอง เซล์ลสมอง ข้อต่อ กระดูก ดวงตา ถือว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อสุนัขในวัยที่มากขึ้น การกินนอกจากจะมีความจำเป็นต้องเสริมในเรื่องของอาหารเสริม […]

เมื่อเรา (และสุนัข) ไม่เข้าใจกัน ควรทำอย่างไรดี

เมื่อเรา (และสุนัข) ไม่เข้าใจกัน ควรทำอย่างไรดี

ปัญหาสำหรับคนเลี้ยงสุนัขที่มักจะเกิดขึ้นกับทุกบ้านโดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งรับสมาชิกใหม่เข้ามาไม่ว่าบ้านนั้นจะมีสมาชิกที่เป็นสัตว์เลี้ยงอยู่แต่เดิมแล้วหรือไม่ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกันคือ ความที่ทั้งเราและสัตว์เลี้ยงไม่เข้าใจกัน ปัญหานี้ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่เรารับเข้ามาเท่านั้น แต่ในบางบ้านสามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยง หรือสุนัขที่เราเลี้ยงมาด้าหลายปีแล้วแต่ยังคงมีบางเรื่องที่ทั้งเจ้าของ และตัวสุนัขเองไม่เข้าใจกัน หรือมีการเก็บปัญหานั้นสะสมมานานโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไข มาวันนี้เราจะมาเก็บกวาดความไม่เข้าใจระหว่างเจ้าของ และสัตว์เลี้ยงให้สะอาดหมดจดกัน 1.รู้ว่าสิ่งที่ไม่เข้าใจกันคือเรื่องอะไรบ้าง ความไม่เข้าใจระหว่างเจ้าของสัตว์เลี้ยง กับตัวสัตว์เลี้ยงเองมีกันทุกบ้านเพราะในกรณีที่เราคุยภาษาเดียวกันกับเพื่อนสนิทก็ยังมีเกิดความไม่เข้าใจกันได้ กับสัตว์เลี้ยงที่สื่อสารกันคนละภาษาแต่อาศัยการจดจำ เรียนรู้ มองหน้าที่จะทำให้สามารถรับรู้กันได้ย่อมมีการเกิดความไม่เข้าใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้ว่าหัวเรื่องที่ไม่เข้าใจกันมีเรื่องอะไรกันบ้างอย่างเช่น สุนัขบางตัวต้องการความอิสระในบางช่วงเวลาที่เจ้าของอาจให้ไม่ได้ และเมื่อเจ้าของไม่เข้าใจในความต้องการของสุนัข อาจมีการจำกัดพื้นที่ร่วมด้วย ผลตามมาคือทำให้สุนัขตัวนั้นหงุดหงิด หรือมีอารมณ์ที่ผิดแปลกไป เช่น นิสัยดุร้าย กัดเด็ก หรือกัดคนแปลกหน้า รวมถึงทำลายสิ่งของต่างๆ เป็นการแสดงออกเพื่อระบายอารมณ์ที่อยู่ภายใน หากแต่เราเรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติของสุนัขพันธุ์นั้นๆ เบื้องต้นและมีการผ่อนปรน หรือหาทางออกให้ได้ตรงกลาง ปัญหาที่เกิดจะคลี่คลายด้วยดี 2.มีเวลาว่างอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 1 วันต่ออาทิตย์ การมีเวลาอยู่ด้วยกันเป็นสิ่งที่ดีที่ช่วยให้เราใช้เวลาศึกษา เข้าใจกันและกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกับสัตว์เลี้ยง เพื่อน หรือคนในครอบครัว หากเรายังไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเรากับสุนัขเกิดจากอะไร หาเวลาวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ ใช้เวลาเล่น หรือกิจกรรมนอกบ้าน นั่งกิน คุยกันให้มากที่สุดในวันหยุดวันนั้น อย่างสุนัขเรามีปัญหาเรื้อรังที่ไม่ฟัง ดื้อ หรือทำลายข้าวของ เราลองใช้เวลาร่วมกันกับสุนัขของเรา สังเกตดูว่ามีอะไรที่เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่สุนัขเราจะทำลายข้าวของ หรือไม่ฟัง […]

ใจเขาใจเรา สุนัขและคนเลี้ยงควรเข้าใจซึ่งกันและกัน

ใจเขาใจเรา สุนัขและคนเลี้ยงควรเข้าใจซึ่งกันและกัน

คนเลี้ยงสัตว์เลี้ยงทุกคนไม่ว่าจะเลี้ยงอะไรต่างคาดหวังว่าสัตว์เลี้ยงของเราควรมีความเข้าใจตัวเรา ทำตามสิ่งที่เราบอกได้ทุกเรื่อง หรือแม้แต่ต้องรู้ความรู้สึกเราได้ว่าเรารู้สึกยังไงในตอนนี้ แต่ในความเป็นจริงการอยู่ร่วมกันให้เกิดความสุข ความเข้าใจที่มากขึ้นนั้นควรมีการปรับความต้องการให้เท่าๆ กันรวมถึงการที่เราควรเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของสัตว์เลี้ยงด้วยว่าอีกฝ่ายมีความรู้สึกอย่างไร มองอาการ ความรู้สึกของสัตว์เลี้ยงออกว่าตอนนี้รู้สึกอะไรอยู่  1.การนอน หรือนั่งหันหน้าไปอีกทาง เรามักจะเห็นบ่อยโดยเฉพาะสุนัขเวลาที่อยากมีช่วงเวลาส่วนตัวบ้าง ซึ่งสัตว์แต่ละชนิดจะมีความต้องการช่วงเวลาส่วนตัวนี้ต่างกัน สุนัขอาจมีน้อยครั้งที่อยากมีมุมส่วนตัวที่ปลีกออกจากเจ้าของซึ่งต่างจากแมวที่มีความต้องการนี้สูงกว่า หากเป็นสุนัขอาจเป็นช่วงเวลาที่อยากจะหลับพักผ่อน หรือก่อนนอนตอนดึกที่ไม่ว่าจะเป็นบ้านไหนต่างต้องบอกเสียงเดียวกันว่าเหมือนกันที่สุนัขของตัวเองจะต้องหันก้นให้ โดยหันหน้าไปอีกทางจากเรา ถือว่าช่วงเวลานี้สัตว์เลี้ยงของเราต้องการมุมสงบ และเวลาพักผ่อนที่เป็นส่วนตัว เงียบแต่ไม่ได้ห้ามเราไม่ให้สัมผัสตัว เราสามารถทำได้แบบเบา และอ่อนโยน 2.นั่งมองหน้า หรือส่งเสียงเรียกเรา การส่งเสียงเรียกอาจจะส่งสัญญาณหลายความหมาย ไม่ว่าจะเป็นการบอกให้รู้ว่าในบางเรื่องที่อยากให้เจ้าของได้รับรู้สิ่งที่จะสื่อ เช่น หิวแล้ว มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในบ้าน (มักจะเป็นสุนัข และนกที่เลี้ยงเป็นหลักที่หากมีสิ่ง หรือคนที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะส่งเสียงให้เรารู้) หรือแม้แต่ความต้องการส่วนตัว อย่างเช่นอยากไปเที่ยวแล้ว อยากให้พาไปข้างนอก อยากให้มาเล่นด้วย โดยการส่งเสียงร่วมกับการมองหน้านั้นอาจทำร่วมกัน หรือมีแสดงอาการแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้จากสัตว์เลี้ยงของเราว่าการที่ส่งเสียงเรียกเรา หรือนั่งมองหน้าสัตว์เลี้ยงเราต้องการอะไร เหมือนกับที่เราอยากให้สัตว์เลี้ยงได้เรียนรู้ความหมายจากภาษาที่เราพูด สัญลักษณ์ทางมือที่เราแสดงออกไป 3.อาการตื่นตระหนก รน หรือซึม  อาการเหล่านี้อาจดูท่าทางทางอวัยวะร่วมด้วย อย่างเช่น หู หางตกหรือไม่ ถ้าใช่อาจเกิดจากอาการไม่สบายทางร่างกาย หรือมีการกระทำที่รุนแรงต่อสัตว์เลี้ยงนั้น ร่วมด้วยกับอาการรน หรือตื่นตระหนกร่วมด้วย อาการเหล่านี้เราสามารถเห็นได้บ่อยจากสุนัขข้างทางที่เจอเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ และร่างกายมา สิ่งเหล่านี้หากเกิดกับสัตว์เลี้ยงในบ้านไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดไหนก็ตาม […]

สุนัขขี้ตกใจควรมีวิธีเลี้ยงดูอย่างไร

สุนัขขี้ตกใจควรมีวิธีเลี้ยงดูอย่างไร

สำหรับคนเลี้ยงสุนัขบางคนอาจเจอกับปัญหากับสุนัขที่เลี้ยงมีอาการขี้ตกใจ ขี้ระแวงมีใครเดินมาข้างหลังหันไปก็สะดุ้งตกใจ เวลากินข้าวเจ้าของยืนข้างหลังก็กินไปแล้วก็หันมาดูไป สิ่งเหล่านี้เมื่อเราเจอแรกๆอาจเห็นว่าน่ารัก ตลก แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงตัวสุนัขเองก็อาจไม่สนุกมากนักเพราะสิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นการบ่งบอกเรื่องภายในจิตใจของสุนัขของเราที่มีสาเหตุก่อให้เกิดภาวะทางอารมณ์และจิตใจ อาจเป็นตั้งแต่เด็กก่อนที่เราจะซื้อมาเลี้ยง หรือช่วงเวลาใดที่เราอาจไม่รู้มองไม่เห็น  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการนี้เกิดขึ้นกับสุนัขของเราแล้ว การรักษาหรือแก้ไขในแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยเหลือ เพราะอาการตกใจ วิตกกังวล และขี้ตื่นกลัวนั้นเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้สุนัขของเราเหนื่อยมากกว่าปกติ เรามาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่เราควรมีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู และช่วยรักษาอาการเหล่านี้ให้ดีขึ้นมาได้ 1.ลดการเล่น หยอกล้อในขณะที่สุนัขไม่รู้ตัว ในการเล่นอาจจะต้องมีปรับเมื่อเทียบกับสุนัขปกติในแบบที่อ่อนโยนมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการเล่นในแบบที่สุนัขไม่รู้ตัว หรือไม่เตรียมตัวที่จะเจอมาก่อนเช่น การแอบมาเงียบๆแตะที่ตัว หรือตั้งใจจะทำให้ตกใจซึ่งในระดับสุนัขธรรมดาอาจไม่มีผลกระทบแต่ในสุนัขที่มีปัญหาขี้ตกใจ หรือหวาดระแวงโดยพื้นฐานอยู่แล้วจะเหมือนการย้ำความรู้สึกแบบนั้นให้มากขึ้น  ดังนั้นเราควรทำอะไรที่ให้สุนัขเห็นแบบต่อหน้าต่อตา หากเดิมมาด้านหลังก็ควรเดินมาข้างหน้าให้เห็นก่อนที่จะทำอะไร เช่นก่อนที่จะวางชามอาหาร ก่อนที่จะกอด หรือเล่นกัน 2.การฝึก สอน หรือว่ากล่าวมีระดับที่อ่อนโยน ในเรื่องการฝึก สอน บอกกล่าวก็ควรมีการทำในแบบที่อ่อนโยนหรือลักษณะที่เบากว่าสุนัขปกติ อาจมาบางสถานการณ์ที่เราไม่ชอบใจ หรือเป็นเรื่องซีเรียสสำหรับเราอย่างเช่น สุนัขบางตัวอาจมีนิสัยชอบกัดรองเท้า ข้าวของในบ้านเสียหาย การนำสุนัขมานั่งคุยกันว่าสิ่งนั้นไม่ควรทำ ควรค่อยพูดค่อยบอกพยายามเว้นการลงมือลงโทษใช้การบอกกล่าวเป็นคำพูดให้เหมือนเป็นการพูดนานๆ ค่อยๆบอกดีกว่าการใช้การลงโทษทางกายภาพ หรือการใช้เสียงว่ากล่าวแบบรุนแรง ที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือการขว้างข้าวของ หรือสร้างเสียงดังสิ่งเหล่านี้จะยิ่งย้ำบาดแผลที่เป็นความกลัวลึกๆในตัวสุนัขให้มากขึ้น และจะทำให้แก้ไขได้ยากมากกว่าเดิม 3.อยู่เคียงข้างในช่วงแรกที่ต้องการรักษาอาการ  สิ่งที่ช่วยได้ดีคือ วันหยุดหรือเวลาว่างสักวันละ 1 ชั่วโมงเราพาสุนัขไปเดินเล่นสวนหน้าบ้าน หรือออกกำลังกายวิ่งเล่นที่ไหนที่มีเราอยู่ข้างๆที่ทำให้สุนัขรู้สึกปลอดภัยสิ่งนี้เมื่อทำเรื่อยๆ นอกจากจะทำให้สุนัขเชื่อใจเรามากขึ้นยังทำให้สุนัขปรับตัวกับสภาพสิ่งแวดล้อมมีความตกใจน้อยลง  อย่าพยายามหลีกเลี่ยงให้สุนัขเจอสิ่งแวดล้อม หรือเหตุการณ์ภายนอกที่เราคิดว่าจะทำให้สุนัขตกใจมากขึ้นด้วยเสียง […]

หัวใจสำคัญที่ทำให้สุนัขสูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง 2

หัวใจสำคัญที่ทำให้สุนัขสูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง 2

ในมนุษย์เราในอดีตในช่วงที่เกิดเจ็บป่วย ไม่สบายในบางโรคที่หายารักษาไม่ได้ หรือการแพทย์ที่ยังไม่เจริญเท่าปัจจุบันนี้ทั้งเครื่องมือ ยารักษา และสถานพยาบาล สิ่งที่มนุษย์ในสมัยนั้นทำได้ดีที่สุด และเป็นการรักษาโรคแบบที่ไม่เสียเงินเลยคือ การนอนพักร่างกายให้มากที่สุดเพราะในส่วนหนี่งการพักร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับสนิท หรือการนอนพักเพื่อผ่อนคลาย ถือเป็นการช่วยปรับอาการตึงทั้งเรื่องของอวัยวะส่วนต่างๆ ที่สำคัญที่เกิดจากการใช้งานที่มาก หรืออวัยวะส่วนที่ได้รับเชื้อโรคให้มีการพักรักษาตัวเอง เพราะเมื่อร่างกายได้พักในเวลาที่พอเหมาะแล้ว เซล์ลต่างๆ ก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เม็ดเลือดขาวก็จะผลิตออกมามากเพื่อทำลายเชื้อโรค  ดังนั้นในมนุษย์ และสัตว์ก็เหมือนกัน เมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงไว้มีอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จนถึงวัยที่เรียกได้ว่า มีความชราภาพอย่างสมบูรณ์ (เฉลี่ยเมื่อเข้าสูงวัยที่ 10 ปีขึ้นไป) สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อเราได้มีการพูดถึงเรื่องอาหารการกินมาแล้วในส่วนที่ 1 ที่ผ่านมา  การนอนหลับ ข้อนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับสุนัขที่สูงวัย เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก เมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงเริ่มก้าวเข้าสู่วัยที่มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจนคือ 1.ติดสถานที่เดิมๆ มากขึ้น  2.เน้นการนอนมากกว่าเดิม 3.กิจกรรมโลดโผน หรือการเล่นลดน้อยลงเรื่อยๆ 4.กินน้อยลงตามวัย (แต่ไม่ใช่อาการผิดปกติที่เกิดจากความไม่สบายทางร่างกาย หรือจิตใจ) เราจะเห็นว่าการนอนหลับเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของสุนัขที่มีวัยมากขึ้นทดแทนการกินที่จะน้อยลง ดังนั้นเมื่อพูดถึงการนอนหลับกับสุนัขที่สูงวัยจึงมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างมากในข้อต่างๆ ดังนี้คือ 1.การนอนหลับที่ใช้เวลามากกว่าเดิม อย่างที่ได้บอกคือ สุนัขที่มีอายุที่มากขึ้นจะเริ่มมีการใช้เวลานอนหลับที่เพิ่มชั่วโมงมากขึ้น จากเดิมที่ยังอยู่ในวัย 7-8 ปี (หรืออาจถือว่าเป็นช่วงที่ควรเตรียมตัวที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุสำหรับสุนัขแล้ว) จะค่อยๆ มีการนอนที่เพิ่มเวลามากขึ้นเช่น นอนเฉพาะกลางคืนเป็นหลักแต่จากที่เคยนอน 3 […]

เคล็ดลับการเลี้ยงสุนัข สุนัขตาบอด ต้องเลี้ยงอย่างไร

เคล็ดลับการเลี้ยงสุนัข สุนัขตาบอด ต้องเลี้ยงอย่างไร #สัตว์โลกน่ารัก

วิธีการดูแลสุนัขตาบอด หมาตาบอด วิธีการเลี้ยง อีกหนึ่งปัญหาที่หลายๆบ้านอาจจะคาดไม่ถึงก็คือการที่ สุนัขตาบอด ต้องบอกก่อนว่าปัญหานี้ไม่ได้เกิดกับสุนัขทุกตัว แต่ก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะกับ สุนัขแก่ เพราะฉะนั้นหากวันหนึ่งสุนัขของคุณเกิดตาบอดขึ้นมา คุณก็ต้องมี วิธีการดูแลสุนัขตาบอด เพื่อให้เขาไม่ต้องกังวลหรือเกิดอาการเครียด บทความนี้เลยจะมาแชร์เทคนิคการเลี้ยงสุนัขตาบอด เลี้ยงอย่างให้ให้เขารู้สึกปลอดภัย เลี้ยงสุนัขตาบอด – การพูดคุยกับสัตว์เลี้ยง สำหรับการพูดคุยถือว่าเป็นสิ่งตำเป็นมากๆในกรณ๊นี้ ยิ่งถ้าสุนัขตาบอดคุณจะต้องพูดคุยกับเขาให้มากกว่าเดิม เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัยและไม่กังวล รวมไปถึงดึงความสนใจของเขาในบางครั้ง การส่งเสียงพูดคุยเพื่อให้เขารู้ตัวว่าเราอยู่ใกล้ๆ จะช่วยทำให้เขาผ่อนคลายลง ไม่ตื่นตระหนก แนะนำว่าคุณไม่ควรเข้าไปจับตัวเขาโดยไม่ส่งเสียงเสียก่อน เพราะอาจจะทำให้สุนัขของคุณมีอาการตกใจหรือหวาดระแวงเอาได้ เพราะฉะนั้นแล้วคุณต้องพูดคุยกับเขาเยอะๆ เลี้ยงสุนัขตาบอด – หาพื้นที่ให้เขา ไม่ว่าจะตาบอดหรือไม่ พื้นที่ๆเขาจะรู้สึกปลอดภัยก็ถือว่าสำคัญมาก และในกรณีนี้คุณจะต้องจัดเตรียมพื้นที่เฉพาะให้กับเขา อาจจะเป็นที่นอนเบาะนุ่มๆ โดยที่ไม่มีสิ่งของวางเกะกะ เพราะในเวลาที่เขาต้องการความรู้สึกปลอดภัยเขาก็สามารถไปอยู่ตรงนั้นได้ เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่สำคัญมากๆ เขาจะได้รู้สึกว่าเขามีพื้นที่เป็นของตัวเอง จะช่วยทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเมื่อไปยังที่ดังกล่าว เลี้ยงสุนัขตาบอด – ทำกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นเวลา เป็นการฝึกให้เขารู้ว่าเวลาไหนคุณจะทำอะไร เวลาในชีวิตของเขาและคุณจะเป็นรูปแบบประมาณไหน ซึ่งสำคัญมากๆสำหรับสุนัขตาบอด เพราะว่าเขาไม่สามารถมองเห็นว่าคุณกำลังจะให้อาหาร หรือพาเขาออกไปไหน การทำกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นกิจวัตรนั้นจะช่วยทำให้เขารู้หน้าที่ของตนเอง และการพาเขาไปยังสถานที่ๆเขาคุ้นเคยก็ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายให้แก่เขาด้วย แต่ว่าเวลาที่คุณจะพาเขาออกไปข้างนอกนั้นคุณควรระวังไม่ให้คนอื่นเขามาจู่โจมสุนัขโดยทันที เพราะว่าสุนัขของคุณอาจจะตกใจได้ หรือไม่คุณก็ควรหาสัญลักษณ์บางอย่างที่บอกกับคนอื่นว่าสุนัขของคุณตาบอด เพื่อที่พวกเขาจะได้ปฏิบัติตัวต่อสุนัขของคุณอย่างเหมาะสมนั่นเอง บอกเลยว่าจริงๆแล้ว การดูแลสุนัขตาบอด […]

เปลี่ยนนิสัยสุนัขที่ก้าวร้าวให้เหมือนแมวเชื่องๆ

เปลี่ยนนิสัยสุนัขที่ก้าวร้าวให้เหมือนแมวเชื่องๆ

ในบางบ้านที่เลี้ยงสุนัขไว้โดยผ่านการซื้อมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก หรือรับมาเลี้ยงในตอนโตแล้วเราไม่รู้ว่าสุนัขตัวนั้นในตอนโตขึ้นแล้วจะมีนิสัยแบบไหน หรือสุนัขที่โตแล้วเคยมีการเลี้ยงดูแบบนี้ และมีลักษณะนิสัยแบบใด การที่เราต้องรับมือกับนิสัยของสุนัขที่ในบางครั้งก็ไม่น่ารักอย่างเช่น การดื้อ กัดข้าวของเสียหาย รวมถึงการขับถ่ายไม่เป็นที่ และที่สำคัญเห่ากัดผู้อื่นจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาที่น่าหนักใจกับเจ้าของเป็นอย่างมาก และในบางคนที่แก้ไม่ตกก็ใช้วิธีล่ามไว้ หรือขังไว้ในกรงตลอดวัน การจำกัดบริเวณแบบนี้แท้จริงแล้วเหมือนเป็นการเพิ่มอาการนิสัยก้าวร้าว หรือนิสัยส่วนไม่ดีให้เพิ่มมากขึ้นเพราะอาจมาในรูปของการเอาแต่ใจตัว และอาการดื้อไม่ฟังคำสั่งเจ้าของ การรับมือกับสุนัขเหล่านี้ที่มีนิสัยที่ไม่เหมาะสม เราอาจสามารถหาหลายวิธีมาสลับสับเปลี่ยนใช้ดูเพราะอาจไม่มีวิธีไหนดีที่สุดสำหรับสุนัขตัวไหน แต่ในบางครั้งการสลับหรือผสมการใช้วิธีแก้ร่วมกันก็ถือว่าเป็นทางแก้ที่ได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ 1.ทำตัวเป็นจ่าฝูง หมายถึง เราต้องเป็นเจ้าของสุนัขที่เห็นแล้วยอมเชื่อฟัง และเคารพเราในบางครั้งที่อยู่ในสถานการณ์ที่เราต้องการให้สุนัขตัวนั้นปฏิบัติตัวตามที่เราบอก เช่นการจูงออกไปข้างนอกเจอคน หรือสุนัขด้วยกันที่อาจมีสุนัขมาเห่าสุนัขเรา หรือสุนัขเราจะไปกัดคนอื่นที่เดินตามทาง สิ่งเหล่านี้หากเราทำเสียงเข้ม คำสั่งสั้นๆ หยุด อย่า สุนัขเราต้องเชื่อฟัง การสอนให้สุนัขฟังคำสั่งเราควรมีขนมให้กินในตอนแรกที่สอน และควรมีการสอนต่อเนื่อง เช่นการสมมติตัวอย่างในบ้าน ให้ฟังคำสั่งแล้วทำตาม หยุด ยืน ห้าม อย่า จับเวลาไปเรื่อยๆ เริ่มต้นที่ 30 วินาที เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ ช่วงเดือนแรกถ้าทำได้ควรฝึกทุกวันเพื่อทบทวนไม่ให้สุนัขลืม 2.เป็นทั้งเพื่อน และเจ้าของ การอยู่ร่วมกันอาจไม่จำเป็นต้องสั่งสุนัขอย่างเดียวอาจทำให้สุนัขเกิดภาวะตึงเครียดขึ้น สามารถเล่น วิ่งไล่จับ ฟัดกัน หรือหอมแก้มกันได้ แต่ก็อย่าให้ความสนุกเหล่านั้นก้าวข้ามสถานะที่เราต้องอยู่ในฐานะเจ้าของที่สุนัขควรมีความเคารพ และเชื่อฟัง 3.แบ่งพื้นที่ไว้ชัดเจน หากมีบ้านเป็นหลังมีพื้นที่หลายห้อง […]

ทำอย่างไรเมื่อความไม่เข้าใจก้าวเข้ามาอยู่ระหว่างเราและสุนัข

ทำอย่างไรเมื่อความไม่เข้าใจก้าวเข้ามาอยู่ระหว่างเราและสุนัข

เมื่อเราได้อ้าแขนต้อนรับเพื่อนสี่ขาเข้ามาในชีวิตของเรา และครอบครัวทุกคนในบ้าน ความวุ่นวาย หรือสิ่งที่ไม่เข้าใจกันระหว่างเราเองกับสุนัขย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถึงแม้สุนัขขนนุ่มนิ่มตัวนี้จะมีความน่ารัก และน่ากอดมากแค่ไหนก็ตาม  ความไม่เข้าใจนั้นเป็นเรื่องปกติสำหรับสมาชิกใหม่ๆ ที่เข้ามาในครอบครัวที่ยังไม่เคยรู้จัก คุ้นเคยกันมาก่อน และมากกว่านั้นคือ สุนัขกับเราก็มีมุมมองที่ต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นความชอบ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ และหลายๆ สิ่งที่อาจต้องปรับจูนเข้าหากัน สิ่งที่ควรปูพื้นฐานเมื่อเกิดความไม่เข้าใจกัน หรือสื่อสารไม่ตรงกันระหว่างเราและสุนัข 1.ก้าวเข้าไปเพื่อเรียนรู้ใกล้ชิดมากขึ้น การที่จะเป็นทีมเวิร์คกันได้มากขึ้นระหว่างเราและสุนัขนั้น ต้องใช้เวลาเป็นตัวกุญแจหลักที่มีผลอย่างมากสำหรับการปรับทั้งตัวเราและสุนัขให้สามารถเรียนรู้ และเข้าใจกันได้มากกว่าเดิม หาเวลาที่จะนั่งคุย มองในอิริยาบถของอีกฝ่าย สังเกตพฤติกรรม แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะค่อยเป็นข้อมูลให้กับเราได้ 2.ดูสาเหตุหลักที่มาของความไม่เข้าใจคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องรู้ว่าความที่ไม่สามารถสื่อสาร หรือเข้าใจกันได้นั้นเกิดจากอะไรเช่น สุนัขไม่สามารถมอง หรือเข้าใจในคำพูด หรือท่าทางที่เราต้องการให้ทำ หรือบอกได้ เมื่อเรารู้สาเหตุที่ตรงจุดการปรับ และแก้ไขตรงนั้นก็จะง่ายขึ้น ค่อยๆ นำสุนัขมาสอนในแต่ละคำบอก หรือท่าทางที่เราแสดงให้สุนัขเห็นแบบนี้แปลว่าอะไร วันละท่า วันละคำ และหาเวลามาทบทวนให้เกิดการจดจำ 3.ค่อยๆ ศึกษาในเรื่องความชอบ ไม่ชอบที่เป็นพื้นฐานก่อน สิ่งที่ช่วยแก้ไขในความเป็นทีมเวิร์คที่ไม่ดีพอระหว่างตัวเราเอง และสุนัขคือ การค่อยๆ มองให้เห็นว่าสิ่งใดที่สุนัขชอบ และไม่ชอบก่อน แล้วจึงปรับมาให้สุนัขได้เข้าใจในสิ่งที่เราชอบ และไม่ชอบบ้าง วิธีที่ทำให้สุนัขได้รับรู้ในสิ่งที่เราชอบ หรือไม่ชอบอาจมีความยุ่งยากมากกว่า โดยการออกเสียง ออกคำพูดเป็นคำสั้นๆ […]

เมื่อสุนัขของเราเกิดโรคร้ายที่ไม่คาดฝัน เราควรทำอย่างไร

เมื่อสุนัขของเราเกิดโรคร้ายที่ไม่คาดฝัน เราควรทำอย่างไร

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นสำหรับสัตว์เลี้ยงที่เหล่าคนรักสัตว์ไม่เคยจะรับได้คือ การจากไปของสัตว์เลี้ยงที่เรารักมาก และสาเหตุการจากไปส่วนใหญ่มาจากโรคร้ายที่พรากเอาชีวิตสัตว์เลี้ยงของเราเกินครึ่งมากกว่าแก่ตาย โรคร้ายที่ว่าไม่ว่าจะเป็นโรคท็อปฮิตเหมือนในมนุษย์เราอย่างมะเร็งตามอวัยวะต่างๆ โรคหัวใจ หรือโรคไต โรคเหล่านี้ทำให้สัตว์เลี้ยงของเราต้องทรมาน และจากไปก่อนวัยอันควร แต่เมื่อเกิดโรคร้ายกับสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงใดๆ ที่เราเลี้ยงแล้วเราควรมีการวางแผน ปรับตัว หรือทำอย่างไรให้ปัญหาที่ดูเหมือนใหญ่เล็กลง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจช่วยยืดอายุของสัตว์เลี้ยงของเรา หรือมีผลทำให้โรคที่เป็นหายอย่างอัศจรรย์ได้ 1.ทำการรักษาอย่างต่อเนื่องกับสัตวแพทย์เฉพาะสาขานั้นๆ ไม่ว่าสัตว์เลี้ยงเราจะเป็นโรคอะไรควรตามติดการรักษากับสัตวแพทย์ในสาขาเฉพาะอย่างต่อเนื่อง และช่วยดูแลสัตว์เลี้ยงของเราให้มีการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องตามคำแนะนำ และหมั่นหาความรู้สำหรับโรคนั้นๆ เพื่อการดูแลที่ถูกวิธี รวมถึงการกิน และอยู่อย่างเหมาะสมกับโรคนั้นๆ อย่างเช่นหากเป็นโรคไต อาหารที่ให้สัตว์เลี้ยงกินควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือขั้นตอนการรักษาอะไรที่เห็นว่าเสี่ยงควรหยุด แล้วหาข้อมูลวิธีรักษาทางอื่นดูหากไม่ถึงขั้นวิกฤติเกินไป อย่างเมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นมะเร็งสามารถรักษากินยา แต่หากไม่สบายใจ และรู้สึกว่าการคีโมนั้นอันตรายเกินไป และอาการของสัตว์เลี้ยงไม่อันตรายเกินไปอาจขอให้เป็นการกินยาไปก่อน และหาข้อมูลทางเลือกในการรักษาที่ปลอดภัยกว่า 2.เสริมอารมณ์ทางบวก หรือสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้กับสัตว์เลี้ยง หากเราเลี้ยงสุนัข ส่วนใหญ่สุนัขทุกตัวจะชอบเที่ยว วิ่ง และเปลี่ยนสถานที่แปลกๆ ใหม่ๆ เพราะการที่พวกเขาได้ออกไปวิ่งเล่น มองเห็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะช่วยสร้างความตื่นเต้น และความอยากรู้อยากเห็น หรือการที่เราให้ความรัก หมั่นพูดคุยเหมือนเราคุยกับพี่น้องในบ้านทุกวันหลังกินข้าวเย็น ถามว่าวันนี้ชอบอาหารวันนี้มั้ย อิ่มมั้ย มีอะไรอยากเล่าให้ฟังหรือเปล่า สิ่งแหล่านี้คือ ความผูกพัน และความรักที่เราถ่ายทอดให้สัตว์เลี้ยงได้แบบไม่เสียอะไรเลย แต่มีอนุภาพทางบวกสูง และสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้อารมณ์ และสุขภาพจิตสุนัขดีขึ้นในทุกๆ วันซึ่งมีผลต่อการรักษาโรคร้ายอย่างมาก 3.รับรู้เหมือนไม่รับรู้ […]

เมื่อถูกสุนัขกัด…เจ้าของต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง!?

เมื่อถูกสุนัขกัด...เจ้าของต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง!?

เราเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยประสบกับเหตุการณ์ที่โดนสุนัขกัดมาแล้วและอดไม่ได้ที่จะโกรธทั้งเจ้าสุนัขตัวแสบและเจ้าของที่ไม่สนใจ ปล่อยให้มันมากัดคุณเช่นนี้ หากเป็นอะไรขึ้นมาต้องเอาเรื่องให้เขารู้ไปเลยว่าผลของการปล่อยปะละเลยความรับผิดชอบตัวเองมันเป็นเช่นไร หากอยากรู้ว่าเมื่อคุณถูกสุนัขกัด ตัวเองสามารถให้เจ้าของสุนัขรับผิดชอบอะไรได้บ้างก็ลองมาดูกันเลย เจ้าของสุนัขที่กัดต้องจ่ายค่าเสียหายให้คุณ เจ้าของสุนัขที่กัดต้องรับผิดชอบโดยการจ่ายค่าเสียหายที่คุณถูกสุนัขกัดตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีการเข้าไปพูดคุยเจรจากันที่สถานีตำรวจและต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ที่ถูกกัดด้วยเพื่อเป็นค่าทำแผลและฉีดวัคซีน โดยเฉพาะหากแผลที่ถูกสุนัขกัดติดเชื้อในภายหลัง คุณก็สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลเพิ่มได้เพราะเป็นสิทธิ์ของเราเอง เจ้าของสุนัขที่กัดต้องเก็บสุนัขตัวเองให้อยู่ เจ้าของสุนัขที่กัดต้องรับผิดชอบโดยการไม่ปล่อยให้สุนัขของตัวเองออกไปกัดคนอื่นที่ผ่านบริเวณบ้านอีกต่อไปโดยมีการปิดประตูรั้วและหากเจ้าของไม่อยู่บ้านก็ให้นำโซ่มาคล้องไว้เพื่อสุนัขอยู่แต่ในบ้านส่วนตัวของมันเอง ไม่ออกฤทธิ์โดยการแอบขุดรั้วหรือปีนมาทำให้คนอื่นหวาดกลัวได้ เพราะเมื่อสุนัขทุกตัวได้เคยกัดใครไปแล้วมันจะทำเช่นนั้นไปเรื่อย ๆ ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีการทำรั้วให้แข็งแรงพอที่สุนัขจะไม่ออกไปกัดคนอีก เจ้าของสุนัขที่กัดต้องดูแลสุนัขตัวเองอย่างใกล้ชิด เจ้าของสุนัขที่กัดต้องดูแลสุนัขตัวเองอย่างใกล้ชิดโดยการสอนให้มันรู้วิธีเข้ากับคนอื่นแทนที่จะปล่อยให้มีนิสัยดุร้ายเที่ยววิ่งไล่กัดคนอื่น และในช่วงแรกต้องมีการใส่ตะกร้อครอบปากไว้เสมอเพื่อให้สุนัขได้รับบทเรียนและรู้ว่าการใส่ไว้เช่นนี้ก็เพื่อไม่ต้องการให้มันไปกัดคนอีก ซึ่งสุนัขหลายตัวเมื่อเจอกับตะกร้อครอบปากนาน ๆ เข้าก็สามารถหงอยจนรู้บทเรียนแล้วเหมือนกัน เดี๋ยวพอสุนัขกลัวก็จะไม่กล้าทำอีกแล้ว ฉะนั้นการที่คุณซึ่งถูกสุนัขกัดจะเดินทางไปเจรจากันที่สถานีตำรวจจึงไม่ใช่เรื่องที่จะสร้างปัญหาให้เจ้าของสุนัขอย่างที่ใคร ๆ คิด เพียงแค่ให้เจ้าของสุนัขตัวที่กัดคุณได้มีการคุยกันดี ๆ และลงลายเซ็นว่าจะปฏิบัติตามที่เจรจากันอย่างเหมาะสมเป็นหลักฐานยืนยันแน่นอน ดีกว่าจะต้องยืนคุยกันจนกลายเป็นความไม่เข้าใจและเกิดทะเลาะกันได้นั่นล่ะจึงจะเรียกว่าปัญหาใหญ่ของแท้ เพราะเจ้าของสุนัขหลายคนมักจะเป็นพวกรักสุนัขตัวเองเหมือนลุกจนลืมความถูกต้องไปได้ #สุนัขกัด #สุนัข #สัตว์โลกน่ารัก

เมื่อสุนัขเกิดภาวะซึมเศร้า เบื้องต้นที่เจ้าของควรจะทำ…

เมื่อสุนัขเกิดภาวะซึมเศร้า เบื้องต้นที่เจ้าของควรจะทำ…

ในสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้มนุษย์เรายังมีภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และมีอัตราการเพิ่มจำนวนผู้ที่มีอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้ามากขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่สุนัขจะมีอาการซึมเศร้าได้เหมือนกันเพียงแต่อาจไม่ได้เกิดจากสถานการณ์โรคระบาดอย่างเดียว อาจมีผลสืบเนื่องจากปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการที่เรารับเลี้ยงสุนัขตัวนั้นต่อจากผู้อื่น และสุนัขตัวนั้นเคยประสบกับสิ่งที่เจอมาที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า หรือเกิดจากอายุวัยที่มากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดๆ ก็ตามหากเราไม่สามารถรับรู้ได้ถึงที่มาของภาวะซึมเศร้าของสุนัขตัวที่เราเลี้ยงได้ แต่เราสามารถช่วยบรรเทาภาวะซึมเศร้าให้กับสุนัขตัวนั้นๆ ได้ 1.การสัมผัส และอยู่ใกล้ชิด เปรียบเหมือนตัวเราเวลาที่เราเครียด หรือเจอกับปัญหาหนักๆ อะไรบางทีเราก็ไม่อยากที่จะพูด ระบาย หรือฟังอะไรมากมายแต่แค่ขอความรู้สึกที่ได้จากการสัมผัส โอบกอด นั่งอยู่ใกล้ๆ นานๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพูดอะไร สุนัขก็เช่นกันการลูบหัวช้าๆ เบาๆ อย่างต่อเนื่อง หอมแก้ง หอมเปลือกตา นวดขมับ และตามร่างกาย และหาโอกาสพาออกนอกสถานที่ปูเสื่อที่สวนสาธารณะ หรือทะเลนั่งที่ชายหาดโอบกอดข้างๆ สิ่งเหล่านี้คือ ช่วงเวลาที่วิเศษที่สุดที่สุนัขได้อยู่ใกล้กับคนที่เค้าไว้ใจ และรักมากที่สุด และช่วงเวลาแบบนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยารักษาความรู้สึกที่เป็นแผลในใจได้ แต่ต้องอาศัยเวลาไม่สามารถรักษาได้ภายในครั้งเดียวที่เราทำ 2.มีกิจกรรมที่ทำด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ เราอาจมีเวลาให้สุนัขของเราอย่างน้อยทีสุด 1 วันต่อสัปดาห์ที่จะสามารถให้เวลาฟรีอิสระแบบไม่ต้องมองนาฬิกาเลย ไม่ว่าจะพาไปวิ่งออกกำลังกายรอบหมู่บ้าน เที่ยวทะเล เล่นโยนของให้ไปคาบ หรือแม้แต่การที่พาสุนัขขึ้นไปนอนบนเตียงร่วมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่ดีมากสำหรับความใกล้ชิดให้สุนัขได้รับรู้ว่ามีเราที่คอยอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา และเติมความมั่นใจในสุนัขว่าคนนี้ที่จะเป็นทุกอย่างให้เรา เติมเต็มรักษาแผลในใจได้ 3.เติมความสดใส เสียงร้องเพลง หรือพูดคุย ในบางช่วงจังหวะสุนัขที่มีอาการซึมเศร้าก็อยากอยู่ส่วนตัว ไม่อยากคุย หรือได้ยินเราพูดอะไรด้วยก็จริง แต่การที่ปล่อยให้สุนัขจมกับความรู้สึกตัวเองแบบนี้ไปจนเคยชินจะยิ่งทำให้อาการหนักขึ้น […]

เมื่อสุนัขอายุล่วงเลยไป มีพฤติกรรมอะไรที่เราควรใส่ใจ

เมื่อสุนัขอายุล่วงเลยไป มีพฤติกรรมอะไรที่เราควรใส่ใจ

สุนัขที่เราเลี้ยงกันนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงที่ซื้อมาเลี้ยงตั้งแต่วัยเด็ก หรือรับเลี้ยงมาอีกต่อจากเจ้าของเดิม หรือแม้กระทั่งสุนัขที่ไม่มีเจ้าของแล้วรับมาเลี้ยงในช่วงระหว่างวัย ซึ่งบางตัวมาอยู่ในช่วงจังหวะที่อายุน้อยๆ จนถึงอายุกลางวัยสุนัข แต่ยังไงก็ตามสุนัขทุกตัวต้องผ่านช่วงเวลาที่เข้าสู่วัยชรา โดยนับตั้งแต่เมื่อวัยสุนัขเริ่มใกล้ 10 ปีแล้วจะถือว่าเริ่มเข้าสู่วัยสุนัขที่อายุมากแล้ว ในวัยสุนัขที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นไม่เพียงแต่อายุ หรือลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็น สีขนที่เริ่มขาวขึ้น ดวงตาที่เริ่มขุ่น ฟันที่ค่อยๆ ร่วง แต่หมายรวมถึงพฤติกรรม และความมั่นคงทางจิตใจก็เปลี่ยนแปลงไป การที่เราต้องมาใส่ใจในเรื่องนี้เพราะเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ภายใน หรือถ้าไม่สังเกตเป็นเวลานานหลายวัน หลายเดือนก็จะไม่รู้ว่าสุนัขตัวนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนลักษณะทางกายภาพที่สามารถสังเกต และเห็นได้ง่ายกว่า ดังนั้นเมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงนั้นเริ่มมีอายุที่มากขึ้น หรือใกล้เข้าสู่วัยชรา สิ่งที่เราควรเตรียมเมื่อเราเห็นความเปลี่ยนแปลงไปของสุนัขที่เราเลี้ยงแล้วคือ การปรับเปลี่ยนการดูแล และความเข้าใจที่ถูกต้องใหม่ คล้ายกับเรามีสุนัขตัวใหม่เข้ามาอยู่ด้วย  1.ความมั่นคงทางจิตใจลดลง ตรงนี้มีความสอดคล้องจากการเปลี่ยนแปลงไปทางกายภาพอย่างที่ได้กล่าวข้างต้นไปบางส่วนคือ การเดินที่ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม วิ่งได้น้อย กระดูกเปราะ ตามองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเมื่อตอนอายุน้อยๆ มีผลให้กิจวัตรประจำวัน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ แม้กระทั่งการกินอาหาร การเดินเพื่อไปกินน้ำก็เป็นไปด้วยความลำบาก และสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของสุนัขเหล่านี้แน่นอน อย่างน้อยๆ ก็เรื่องการพึ่งพาตัวเองได้น้อยลง สิ่งที่เราควรเพิ่มคือ มีเวลาให้มากขึ้น ช่วยเหลือสุนัขในกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นอาจต้องมีอุ้มมากขึ้น เดินน้อยลง พาออกเที่ยวสูดอากาศที่มีกลิ่นหญ้า ต้นไม้มากขึ้น เพื่อให้ทั้งร่างกาย และอารมณ์สดชื่น 2.ภาวะทางอารมณ์อ่อนไหวมากขึ้น ต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ตรงนี้หากผู้เลี้ยงไม่มีเวลาสังเกตเห็นอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นในส่วนที่ต่างได้ และเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงไปของสุนัขที่เลี้ยงไม่ว่าจะเป็น ภาวะขี้ตกใจ […]

ข้อควรรู้สำหรับคนเลี้ยงแมว 4 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหาร ที่ดูเหมือนว่าน้องแมวจะชอบ

4 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหาร ที่ดูเหมือนว่าน้องแมวจะชอบ

แน่นอนว่าไม่ใช่เจ้าของแมวทุกคนที่จะเลี้ยงน้องแมวด้วยอาหารแมวเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะมีการให้อาหารคน และน้องแมวก็ดูชอบอาหารเหล่านั้นมากๆ แต่บทความนี้จะพามาดูกันว่าความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารที่แมวชอบ ของคุณจะเป็นการเข้าใจผิดหรือเปล่า เพราะในหลายๆครั้งเราเองก็อาจจะทึกทักเอาเองว่า อาหารแมว ที่เราไปหามาให้น้องแมวชอบกิน ก็เท่ากับสามารถกินได้ อาหารแมว – ปลาทู ใครที่เลี้ยงแมวอยู่จะต้องเคยให้ปลาทูกับแมวกันมาบ้าง และเจ้าสิ่งนี้ก็คืออาหารเบอร์ต้นๆสำหรับทาสแมวที่เข้าใจว่าแมวของตัวเองนั้นชอบกินมากๆ และขอบอกว่าเข้าใจไม่ได้ผิดอะไร เพราะเจ้าแมวบางตัวก็ชอบกินปลาทูจริงๆนั่นแหละ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าปลาทูนึ่งที่เรากินเป็นอาหารนั้นมันจะมีความเค็มมากๆอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังในเรื่องของปริมาณการให้น้องแมวทานมากๆ เพราะสามารถทำให้น้องแมวเป็นไตได้เลย ทางที่ดีควรให้ทานแบบไม่ผ่านการปรุงใดๆ จะดีที่สุด อาหารแมว – ปลาดิบ การให้ปลาดิบกับน้องแมวจะทำให้น้องแมวนั้นได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ข้อนี้ขอบอกเลยว่าเป็นเรื่องจริงเอามากๆ แต่ก็ต้องยอมรับอีกเหมือนกันว่ามันก็มีข้อเสียด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าปลาดิบบางชนิดที่เราซื้อมาหากไม่ได้ซื้อมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือคุณภาพอาจจะไม่ดีมาก ก็อาจจะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียอยู่ อีกทั้งแมวบางตัวไม่สามารถกินอาหารแบบดิบๆได้ เพราะฉะนั้นถ้าเลือกทางที่ปลอดภัยไว้ก่อน คุณควรทำอาหารให้เหล่านี้ให้สุกเสียก่อนจะดีกับน้องแมวและปลอดภัยมากกว่า อาหารแมว – น้ำปลา สำหรับอาหารนี้ถือว่าไม่ควรให้เลย หลายๆบ้านอาจจะเคยให้ข้าวคลุกน้ำปลากับน้อง ด้วยความหวังดีกลัวข้าวอย่างเดียวจะจืดไปสำหรับน้อง แต่บอกเลยว่าไม่ควรใส่ลงไป เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคทางเดินอาหาร และโรคตับอ่อนอักเสบขึ้นมาได้ น้องไม่จำเป็นต้องกินอะไรเค็มๆขนาดนั้น ไม่ใช่อาหารที่ดีเท่าไรเลยสำหรับน้ำปลา เพราะฉะนั้นบ้านไหนที่ชอบให้ข้าวคลุกน้ำปลากับน้องแมว อาจจะต้องลดละเลิกเพื่อสุขภาพที่ดีของน้องแมว และหันมาใส่ใจในการเลือก อาหารแมวที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อที่เขาจะได้มีชีวิตอยู่กับเราไปนานๆ เพราะถ้าหากตามใจเรามากไปอาจจะไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายของน้องแมวก็เป็นได้ #ข้อควรรู้สำหรับคนเลี้ยงแมว #อาหารที่แมวชอบ #สัตว์โลกน่ารัก

ข้อควรรู้ในการเลี้ยงสุนัข ข้อควรทราบเกี่ยวกับ การบริจาคเลือดสุนัข

ข้อควรรู้ในการเลี้ยงสุนัข ข้อควรทราบเกี่ยวกับ การบริจาคเลือดสุนัข

นอกจากการบริจาคเลือดของคนอย่างเราๆแล้ว สัตว์เองก็ต้องการเลือดเหมือนกันในบางเคส เพราะฉะนั้น การบริจาคเลือดสุนัข จึงถือว่าเป็นอีกประเด็นสำคัญสำหรับคนเลี้ยงน้องหมาทั้งหลายไม่ควรมองข้ามกันไปอย่างเด็ดขาด เพราะในปัจจุบันเองก็ยังมีการเข้าใจผิดเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง บทความนี้เลยจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ การพาสุนัขไปบริจาคเลือด นอกจากจะต้องได้รับวัคซีนครบ ไม่มีเห็บหมัด และจะต้องไม่มีประวัติการผ่าตัดใหญ่มาในระยะเวลาสามเดือนก่อนให้บริจาค จะมีประเด็นไหนที่น่าสนใจบ้างไปดูกัน บริจาคเลือดสุนัข – ไม่ได้ทำให้ร่างกายของน้องอ่อนแอลง มักจะมีความเข้าใจผิดว่า การพาน้องหมาของเราไปบริจาคเลือดนั้น จะทำให้น้องหมานั้นมีสุขภาพที่อ่อนแอลง เนื่องจากจะต้องสูญเสียเลือดออกไป เลยทำให้สุขภาพร่างกายของสุนัขอาจจะอ่อนแอลงไปด้วย แต่ที่จริงแล้วการบริจาคเลือดนั้นจะทำให้น้องหมามีสุขภาพที่แข็งแรงมากกว่าเดิมด้วย เพราะจะไปกระตุ้นการเกิดเม็ดเลือดใหม่ ซึ่งเป็นผลดีกับตัวน้องหมาเอง เพราะฉะนั้นแล้วข้อนี้จึงไม่ต้องกังวลเลย บริจาคเลือดสุนัข – ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ขอบอกเลยว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่จะเกิดความเสี่ยงน้อยมาก เพราะว่าก่อนที่น้องหมาจะได้บริจาคเลือดนั้น จะมีขั้นตอนการซักถามข้อมูลสำคัญเช่นน้ำหนัก วัคซีน การผ่าตัด ประวัติทางสุขภาพก่อนอยู่แล้ว รวมไปถึงน้องหมาจะได้รับการตรวจสุขภาพอีกด้วย เรียกได้ว่าไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะเกิดอันตรายกับน้องเลย รวมไปถึงน้องจะยังได้ตรวจสุขภาพอีกด้วยนะ บริจาคเลือดสุนัข – ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สำหรับอีกประเด็นที่เชื่อว่าทำให้หลายๆคนไม่กล้าที่จะพาสุนัขของตนเองไปบริจาคเลือดนั่นก็คือ กลัวว่าจะมีค่าใช้จ่ายมากมายตามมา ด้วยขั้นตอนต่างๆที่เราอาจจะนึกภาพไปเอง แต่ความจริงแล้วนั้นการพาน้องไปบริจาคเลือดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย แม้กระทั่งการตรวจสุขภาพ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวลถึงประเด็นนี้เลยสำหรับเจ้าของ การบริจาคเลือดจะถือเป็นโอกาสทางสุขภาพของสุนัขเสียอีก ที่จะได้รับการตรวจอีกทั้งยังจะช่วยให้น้องหมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เห็นอย่างนี้แล้วเจ้าของคนไหนที่ยังมีความกังวลในเรื่องดังกล่าวอยู่ก็ต้องบอกว่าเลิกกังวลได้แล้ว การพาสุนัขไปบริจาคเลือด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดและไม่เป็นอันตรายต่อสุนัขอีกด้วย หากสุนัขตัวไหนที่มีเกณฑ์ที่สามารถบริจาคได้ ก็สนับสนุนว่าควรไปบริจาคเลือดเพื่อน้องหมาตัวอื่นๆกัน #ข้อควรรู้ #การบริจาคเลือดสุนัข #สัตว์โลกน่ารัก

เรื่องที่ควรรู้ในการเลี้ยงสุนัข การให้กระดูกกับสุนัขคือสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ถูก ?

เรื่องที่ควรรู้ในการเลี้ยงสุนัข การให้กระดูกกับสุนัขคือสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ถูก ?

เป็นประเด็นที่ชวนให้สงสัยและสับสนสำหรับคนเลี้ยงสุนัข สรุปแล้ว กระดูก เป็นสิ่งที่สุนัขสามารถกินได้หรือไม่ เพราะว่าเรามักจะถูกกล่อมเกลามาตั้งแต่เด็กๆ อาจจะจากสื่อ หรือการดูคนอื่น ที่ให้อาหารสุนัขด้วยการให้กระดูก แต่จริงๆแล้วสามารถให้ได้หรือไม่ แล้วถ้าไม่ควรให้แต่ สุนัขกินกระดูกไปแล้ว ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจของคุณเกี่ยวกับเรื่องของกระดูกและสุนัขกัน สุนัขกินกระดูกได้หรือไม่ ? คำตอบคือ ไม่ควรให้สุนัขกินกระดูก เพราะว่ากระดูกพวกนี้จะสามารถทำให้กระเพาะของสุนัข หรือทางเดินอาหารของน้องได้รับบาดเจ็บและเสียหาย แล้วถ้ามีบางคนถามถึง แล้วกระดูกอันใหญ่ๆที่ซ้อมาให้แทะละ สามารถกินได้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่ควรเหมือนกัน เพราะว่าถ้าหากสุนัขนั้นกัดจนแตกเป็นเสี่ยงแล้วกลิ่นเข้าไป ก็จะทำให้น้องหมาเสี่ยงต่อการที่กระดูกเหล่านี้จะบาดเอาได้ โดยเฉพาะกระดูกไก่ ยิ่งไม่ได้เลย เพราะว่ากระดูกไก่นั้นจะเป็นกระดูกขนาดเล็ก แล้วเมื่อมันแตกมันก็จะแตกออกมาแล้วมีลักษณะคมๆ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุนัขเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นสำหรับเจ้าของคนไหนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการให้สุนัขกินกระดูก ขอบอกเลยว่าให้รีบทำความเข้าใจเสียใหม่ ก่อนที่น้องหมาจะเป็นอะไรไป แล้วถ้าสุนัขกินกระดูกไปแล้ว ต้องทำอย่างไร ? หากสุนัขของกินกินกระดูกลงไปแล้วไม่มีอาการที่สำลัก ก็อาจจะไม่เป็นอันตราย แต่ว่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย หากเขาเผลอกินกระดูกไก่ลงไปแล้ว เจ้าของสุนัขนั้นจะต้องห้ามเด็ดขาดในการที่จะทำให้น้องอ้วกออกมา เพราะว่าการที่พยายาทำแบบนั้น กระดูกได่ที่มีความแหลมคมก็จะทำให้ร่างกายของน้องหมาได้รับอันตรายไปมากกว่าเดิม มีคุณหมอผู้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้น้องหมากินขนมปัง เพราะว่าขนมปังจะช่วยทำให้กระดูกไม่บาด เนื่องตากเวลาที่ขนมปังนั้นโดนน้ำ จะมีการพองตัวและกวาดเศษกระดูกผ่านลำไส้ แล้วขับถ่ายออกไป ควรฝึกให้เป็นนิสัย ทั้งเจ้าของและสุนัข ลำพังตัวเราเองจะไม่ให้กระดูกกับสุนัขก็พอจะห้ามได้อยู่ แต่ในบางครั้งที่คนอื่นที่ยังเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วให้กระดูกกับสุนัขกิน มันก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วทางที่ดี […]

3 ความรัก vs ความรับผิดชอบที่สมดุลที่ควรมีต่อสัตว์เลี้ยง

3 ความรัก vs ความรับผิดชอบที่สมดุลที่ควรมีต่อสัตว์เลี้ยง

ใครที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงอะไรก็ตามต่างมีความรักต่อสัตว์เลี้ยงของเราเป็นทุนเดิมอยู่กันทุกคน แต่ความรักก็ดูเหมือนว่าจะพอแล้วสำหรับสัตว์เลี้ยงของเรา แต่ในความเป็นจริงยังไม่สามารถทำให้ทั้งชีวิตของเราคนเลี้ยง และสุนัขมีคุณภาพที่ดีมากพอได้  โดยหลักแล้วความรักเป็นสิ่งที่สัตว์เลี้ยงทุกประเภทต้องการซึ่งหมายรวมถึง การเอาใจใส่ และการมีเวลาให้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องมีความรับผิดชอบควบคู่ด้วย และในความรับผิดชอบตรงนี้มีความหมายครอบคลุมทั้งความรับผิดชอบต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยงเราเอง และความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมด้วย ความรัก vs ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เรามักจะเห็นปัญหาระหว่างบุคลลที่มีสัตว์เลี้ยงด้วยกัน หรือบุคคลที่เลี้ยงสัตว์ กับบุคคลที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งรวมถึงสถานที่สาธารณะ ที่เรามักจะเห็นกันว่ามีปัญหาการขัดแย้งในเรื่องการทำความสกปรก ในมุมมองของการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็อยากจะตามใจสัตว์เลี้ยงของเรา แต่การยืนอยู่ในจุดที่ต้องเข้าใจบุคคลอื่น รวมถึงสถานที่สาธารณะส่วนรวมที่มีการใช้ร่วมกัน จึงจำเป็นที่ต้องรักสัตว์เลี้ยงในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องดูแลสัตว์เลี้ยงของเราไม่ว่าจะเป็นการดูแลการขับถ่าย การทำสิ่งสกปรก ซึ่งทั้งนี้อาจหมายรวมถึงการเห่า วิ่งไล่ และที่อันตรายต่อผู้อื่นอย่างการไล่กัด การดูแลตรงนี้อาจต้องมีสายจูงในการพาสัตว์เลี้ยงเราออกไปนอกบ้าน หรือที่สาธารณะ และถุงเก็บในการขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงเราในสถานที่นอกบ้าน  และหากเรารู้ว่าสัตว์เลี้ยงมีนิสัยก้าวร้าว หรือไม่ชอบอะไรควรระวังในการพาเดิน เข้าใกล้ ถ้าเราระวัง และให้ความสมดุลระหว่าความรักที่เราอยากเอาใจสัตว์เลี้ยงเรา กับความรับผิดชอบต่อคนรอบข้างทุกอย่างก็จะสามารถไปด้วยกันได้ดีมากขึ้น ความรัก vs ความรับผิดชอบในชีวิต และสุขภาพของสัตว์เลี้ยงในด้านอาหาร เราทุกคนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงคงมีความเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ สัตว์เลี้ยงเราชอบกินอะไรเรามักจะมีความสุขที่เห็นว่ากินได้เยอะ และชอบกินสิ่งนั้น ในทางกลับกันการให้สัตว์เลี้ยงเรากินอะไรที่มากเกินไปอันมีผลทำให้เกิดภาวะความอ้วนสำหรับสัตว์เลี้ยงตัวนั้นๆ ร่วมด้วยและจะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอื่นๆ ตามมา และสำหรับสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ก็นิยมที่จะชอบกินอาหารของมนุษย์เรามากกว่าอาหารที่ทำเฉพาะสัตว์เลี้ยงชนิดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข กระรอก แมว กระต่าย สัตว์พวกนี้จะมีอาหารเม็ดเฉพาะ ซึ่งจะมีข้อดีตรงที่วัตถุดิบต่างๆ […]