เมื่อสุนัขเกิดภาวะซึมเศร้า เบื้องต้นที่เจ้าของควรจะทำ…

เมื่อสุนัขเกิดภาวะซึมเศร้า เบื้องต้นที่เจ้าของควรจะทำ…

ในสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้มนุษย์เรายังมีภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และมีอัตราการเพิ่มจำนวนผู้ที่มีอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้ามากขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่สุนัขจะมีอาการซึมเศร้าได้เหมือนกันเพียงแต่อาจไม่ได้เกิดจากสถานการณ์โรคระบาดอย่างเดียว อาจมีผลสืบเนื่องจากปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการที่เรารับเลี้ยงสุนัขตัวนั้นต่อจากผู้อื่น และสุนัขตัวนั้นเคยประสบกับสิ่งที่เจอมาที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า หรือเกิดจากอายุวัยที่มากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดๆ ก็ตามหากเราไม่สามารถรับรู้ได้ถึงที่มาของภาวะซึมเศร้าของสุนัขตัวที่เราเลี้ยงได้ แต่เราสามารถช่วยบรรเทาภาวะซึมเศร้าให้กับสุนัขตัวนั้นๆ ได้

1.การสัมผัส และอยู่ใกล้ชิด

เปรียบเหมือนตัวเราเวลาที่เราเครียด หรือเจอกับปัญหาหนักๆ อะไรบางทีเราก็ไม่อยากที่จะพูด ระบาย หรือฟังอะไรมากมายแต่แค่ขอความรู้สึกที่ได้จากการสัมผัส โอบกอด นั่งอยู่ใกล้ๆ นานๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพูดอะไร สุนัขก็เช่นกันการลูบหัวช้าๆ เบาๆ อย่างต่อเนื่อง หอมแก้ง หอมเปลือกตา นวดขมับ และตามร่างกาย และหาโอกาสพาออกนอกสถานที่ปูเสื่อที่สวนสาธารณะ หรือทะเลนั่งที่ชายหาดโอบกอดข้างๆ สิ่งเหล่านี้คือ ช่วงเวลาที่วิเศษที่สุดที่สุนัขได้อยู่ใกล้กับคนที่เค้าไว้ใจ และรักมากที่สุด และช่วงเวลาแบบนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยารักษาความรู้สึกที่เป็นแผลในใจได้ แต่ต้องอาศัยเวลาไม่สามารถรักษาได้ภายในครั้งเดียวที่เราทำ

2.มีกิจกรรมที่ทำด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ

เราอาจมีเวลาให้สุนัขของเราอย่างน้อยทีสุด 1 วันต่อสัปดาห์ที่จะสามารถให้เวลาฟรีอิสระแบบไม่ต้องมองนาฬิกาเลย ไม่ว่าจะพาไปวิ่งออกกำลังกายรอบหมู่บ้าน เที่ยวทะเล เล่นโยนของให้ไปคาบ หรือแม้แต่การที่พาสุนัขขึ้นไปนอนบนเตียงร่วมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่ดีมากสำหรับความใกล้ชิดให้สุนัขได้รับรู้ว่ามีเราที่คอยอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา และเติมความมั่นใจในสุนัขว่าคนนี้ที่จะเป็นทุกอย่างให้เรา เติมเต็มรักษาแผลในใจได้

3.เติมความสดใส เสียงร้องเพลง หรือพูดคุย

ในบางช่วงจังหวะสุนัขที่มีอาการซึมเศร้าก็อยากอยู่ส่วนตัว ไม่อยากคุย หรือได้ยินเราพูดอะไรด้วยก็จริง แต่การที่ปล่อยให้สุนัขจมกับความรู้สึกตัวเองแบบนี้ไปจนเคยชินจะยิ่งทำให้อาการหนักขึ้น เบื้องต้นสำหรับสุนัขบางตัวที่เจ้าของสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องพาไปปรึกษากับหมอคือ การสร้างสีสันในบ้าน นั่งร้องเพลง (ทำนอง เนื้อเพลงไม่รุนแรงเกินไป) ชวนสุนัขมาเต้น เดินไปมาตามเรา หรือแม้แต่การนั่งคุยเป็นการส่วนตัวก่อนนอนวันละแค่ 5-10 นาที ถือว่าเป็นเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะทำร่วมกันแล้ว ยังถือว่าเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ให้สุนัขมีความใกล้ชิด และอุ่นใจมากขึ้น

วิธีการเหล่านี้ควรมีการทำต่อเนื่องเหมือนการบำบัดอาการทางใจที่ไม่สามารถหายดีภายในครั้งเดียว หรือวันเดียวได้ แต่สิ่งที่จะเห็นชัดคือ สุนัขจะคลายความวิตกในใจ สิ่งที่เคยเป็นปมในใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้ายอะไรที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจะค่อยๆ เป็นปมเล็กลงๆ เรื่อยๆ จนสามารถแก้ปมได้ในที่สุด 

#ภาวะซึมเศร้า #สุนัข #สัตว์โลกน่ารัก