ในมนุษย์เราในอดีตในช่วงที่เกิดเจ็บป่วย ไม่สบายในบางโรคที่หายารักษาไม่ได้ หรือการแพทย์ที่ยังไม่เจริญเท่าปัจจุบันนี้ทั้งเครื่องมือ ยารักษา และสถานพยาบาล สิ่งที่มนุษย์ในสมัยนั้นทำได้ดีที่สุด และเป็นการรักษาโรคแบบที่ไม่เสียเงินเลยคือ การนอนพักร่างกายให้มากที่สุดเพราะในส่วนหนี่งการพักร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับสนิท หรือการนอนพักเพื่อผ่อนคลาย ถือเป็นการช่วยปรับอาการตึงทั้งเรื่องของอวัยวะส่วนต่างๆ ที่สำคัญที่เกิดจากการใช้งานที่มาก หรืออวัยวะส่วนที่ได้รับเชื้อโรคให้มีการพักรักษาตัวเอง เพราะเมื่อร่างกายได้พักในเวลาที่พอเหมาะแล้ว เซล์ลต่างๆ ก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เม็ดเลือดขาวก็จะผลิตออกมามากเพื่อทำลายเชื้อโรค
ดังนั้นในมนุษย์ และสัตว์ก็เหมือนกัน เมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงไว้มีอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จนถึงวัยที่เรียกได้ว่า มีความชราภาพอย่างสมบูรณ์ (เฉลี่ยเมื่อเข้าสูงวัยที่ 10 ปีขึ้นไป) สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อเราได้มีการพูดถึงเรื่องอาหารการกินมาแล้วในส่วนที่ 1 ที่ผ่านมา
การนอนหลับ ข้อนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับสุนัขที่สูงวัย เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก เมื่อสุนัขที่เราเลี้ยงเริ่มก้าวเข้าสู่วัยที่มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจนคือ
1.ติดสถานที่เดิมๆ มากขึ้น
2.เน้นการนอนมากกว่าเดิม
3.กิจกรรมโลดโผน หรือการเล่นลดน้อยลงเรื่อยๆ
4.กินน้อยลงตามวัย (แต่ไม่ใช่อาการผิดปกติที่เกิดจากความไม่สบายทางร่างกาย หรือจิตใจ)
เราจะเห็นว่าการนอนหลับเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของสุนัขที่มีวัยมากขึ้นทดแทนการกินที่จะน้อยลง ดังนั้นเมื่อพูดถึงการนอนหลับกับสุนัขที่สูงวัยจึงมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างมากในข้อต่างๆ ดังนี้คือ
1.การนอนหลับที่ใช้เวลามากกว่าเดิม
อย่างที่ได้บอกคือ สุนัขที่มีอายุที่มากขึ้นจะเริ่มมีการใช้เวลานอนหลับที่เพิ่มชั่วโมงมากขึ้น จากเดิมที่ยังอยู่ในวัย 7-8 ปี (หรืออาจถือว่าเป็นช่วงที่ควรเตรียมตัวที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุสำหรับสุนัขแล้ว) จะค่อยๆ มีการนอนที่เพิ่มเวลามากขึ้นเช่น นอนเฉพาะกลางคืนเป็นหลักแต่จากที่เคยนอน 3 ทุ่มปรับมานอน 1 ทุ่มก็ง่วงแล้ว และเช้าเคยตื่น 8 โมงเช้าเปลี่ยนมาตื่น 10 โมงเช้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เริ่มเป็นสัญญาณที่แสดงออกถึง ภาวะความชราที่กำลังก้าวเข้ามาของสุนัขเรา
2.ช่วงเวลานอนหลับจะปรับเป็นกลางวันที่มากกว่ากลางคืน
สิ่งที่เจ้าของหลายๆ คนแชร์กันเหมือนกันมากที่สุดคือ เวลาที่ปรับมานอนช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน มีผลให้ช่วงเวลานอนหลับปกติในเวลากลางคืนอาจทำให้สุนัขหลายๆ บ้านไม่นอน ออกมาเดินบ้าง กวนเจ้าของช่วงก่อนเข้านอน สิ่งเหล่านี้อาจมีสาเหตุ 2 อย่างคือ
2.1นอนหลับมากในช่วงกลางวัน
2.2เกิดจากโรคทางระบบประสาท หรือสมอง
3.จัดหาที่นอนให้มีความสบายตามความชอบของสุนัข
สิ่งที่จะช่วยในเรื่องของสุขภาพของสุนัขที่สูงวัยได้ดีที่สุดคือ ให้พยายามนอนหลับลึกได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลากลางวัน (หากเราไม่สามารถที่จะควบคุมได้) หรือกลางคืนก็ตาม โดยเน้นความชอบสุนัขแต่ละตัวว่า บางตัวอาจชอบมุมส่วนตัวในเวลาหลับ ต้องมืด และคลุมหัว บางตัวอาจชอบที่นอนแบบคล้ายถ้ำ หรือโดม สุนัขบางตัวอาจชอบเครื่องนอนไม่ว่าจะเป็นเบาะ หรือผ้าห่ม ผ้าปูที่มีเนื้อนุ่มเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมให้สุนัขมีการนอนหลับที่ง่ายขึ้น และหลับลึกได้ดีขึ้น
#สุนัขสูงวัย #สุนัข #สัตว์โลกน่ารัก