สุนัขดื้อ สอนได้ไม่ยากอย่างที่ใครบอก

สุนัขดื้อ สอนได้ไม่ยากอย่างที่ใครบอก

1.สุนัขแต่ละตัวก็ต่างมีอุปนิสัยที่ต่างกัน

เหมือนๆกับสัตว์หลายชนิดที่หากบ้านไหนเลี้ยงหลายตัว ก็จะได้สุนัขนิสัยต่างกันทุกตัว และหนึ่งในนิสัยที่จะเห็นในสุนัขอย่างน้อย 1 ใน 10 ตัวเรียกได้ว่าเป็นนิสัยที่ยอดนิยมในสุนัขคือ นิสัยดื้อ ที่ไม่จำกัดเฉพาะสายพันธุ์ไหนอยู่ที่ว่าผู้เลี้ยงต้องสังเกตนิสัยเองว่าสุนัขเรามีนิสัยนี้หรือไม่ บางตัวไม่มีเลย

แต่ส่วนใหญ่เราจะเจอนิสัยนี้ในสุนัขไม่มากก็น้อย โดยสุนัขบางตัวก็จะมีนิสัยดื้อแบบนี้มากบ้าง น้อยบ้างตามอายุ และปัจจัยต่างๆ ที่สุนัขตัวนั้นเติบโตมารวมทั้งสืบต่อจากรุ่นปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่ของสุนัขตัวนั้นด้วย

ดังนั้นนิสัยดื้อของสุนัขมักจะทำความลำบากใจให้กาบผู้เลี้ยงไม่มากก็น้อย แต่หากเรารู้จักวิธีที่จะแก้ไข หรือรักษาให้ดีขึ้นได้จะเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

2.ตัวหนึ่งดื้อเป็นการนำให้ตัวอื่นดื้อตามมา

เราอาจเคยเห็นว่าหากเราเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว อาจมีตัวที่ดื้อที่สุด และตัวที่ดื้อที่สุดจะเป็นตัวนำให้ตัวอื่นๆ ตามนิสัยแบบนี้ร่วมด้วยจากการเห็นเป็นตัวอย่างว่าตัวนั้นยังทำได้ อย่างเช่น สุนัขไม่ฟังอยากออกไปวิ่งเล่นใช้วิธีต่างๆ เช่น วิ่งไปทั่วบ้าน หรือกัดข้าวของเสียหายเพื่อเรียกร้องความสนใจให้พาออกไปเที่ยว ตัวอื่นเห็นตัวหนึ่งทำก็จะทำตามๆ กัน อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นที่บ้านได้ โดยเฉพาะหากเลี้ยงไว้หลายตัว

ในเมื่อสุนัขเรามีนิสัยดื้อแบบไม่สามารถกำหนดว่าตัวไหนจะมีหรือไม่มี หรือมีนิสัยดื้อมาก หรือน้อยแค่ไหน ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือ การที่ค่อยๆ แก้ไข และช่วยให้นิสัยนี้ค่อยๆ หายไปจากสุนัขตัวรักของเรา

  • มองตาลึกเข้าไปในความรู้สึก

เมื่อมีการสื่อสารอะไรกับ หรือแม้แต่การพูดคุยอย่างที่เราเคยทำเป็นประจำเน้นที่การมองตา และให้สุนัขตัวนั้นๆ มองตาเราพร้อมกับเราด้วย โดยเฉพาะหากมีการนิสัยดื้อไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องความสนใจ ว่าบอกอะไรแล้วทำในสิ่งที่ตรงข้ามกัน วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลแต่ต้องการเวลาสักนิดคือ การพูดสอนไปด้วยพร้อมกับมองตาสุนัขไปด้วย เราอาจคิดว่าสุนัขจะเข้าใจภาษาเราได้มั้ยในความจริงหากเราพูดคุยกับสุนัขเรื่อยๆ สุนัขสามารถเข้าใจ รู้ความหมายภาษาที่เราต้องการจะสื่อได้

  • แสดงคำพูด และการกระทำที่อ่อนโยน

เป็นการใช้ไม้อ่อน และวิธีนี้ก็ต้องใช้เวลาสักนิดในการปรับตัว และแก้ไขนิสัยดื้อ หากเราต้องการให้สุนัขตัวนั้นๆ ฟังการนำสุนัขมาคุย พูด รวมถึงสัมผัสถึงความรักที่เรามีให้นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าลงโทษด้วยความรุนแรง อย่างเช่น ใช้มือตีก้น ใช้กระดาษม้วนไล่ตีพร้อมตะโกนใส่อารมณ์ว่าไม่ควรทำ เพราะสิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นชนวนให้สุนัขจะทำมากขึ้น และไม่ฟัง

  • ถึงเวลาที่จ่าฝูงแสดงตัว

การใช้คำพูดที่อ่อนโยน บวกกับการมองตาสื่อความรู้สึกกันอาจต้องร่วมกับเมื่อถึงเวลาที่เราควรจะแสดงตัวเป็นจ่าฝูงให้สุนัขตัวนั้นๆ ได้มีความเคารพต่อเรา และเมื่อนั้นการทำตามสิ่งที่เราบอกก็จะตามมา อย่างเช่น การจูงพาเดินออกไปข้างนอกไม่ควรปลดสายจูงให้ยาวจนสุนัขเดินนำเรา ควรให้สายจูงสั้นให้สุนัขเดินถัดด้านหลังเรา หรืออย่างมากสุดคือ ปรับสายจูงให้เดินเสมอกัน เวลาออกคำสั่งว่าหยุด รอตรงนี้ อย่าทำก็ควรปรับโทนเสียงให้หนักแน่นมากขึ้น และใช้คำพูดสั้นๆ ให้เข้าใจง่าย ไม่ใช้ประโยคที่ยาวๆ สุนัขจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อในทันที หรือเวลาอันรวดเร็วได้

#สุนัขดื้อ #สุนัข #เจ้าตูบ