อะไรที่ส่งสัญญาณว่าสุนัขมีปัญหาทางใจ และทางแก้ไข

อะไรที่ส่งสัญญาณว่าสุนัขมีปัญหาทางใจ และทางแก้ไข

ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เราอาจเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในส่วนของคนในสังคมเริ่มมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดเนื่องจากสังคม การเงิน หรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ปัญหานี้ใช่ว่าจะมีเพียงแต่พวกเราเท่านั้น สุนัขที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเราก็มีสิทธิที่จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมาได้ 

การมีเวลาใส่ใจ และใกล้ชิดกับสุนัขในช่วงเวลาที่เว้นว่างจากงาน หรือภาระผูกพันจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับเจ้าของที่เลี้ยงดู เพราะปัญหาสุขภาพจิต หรือปัญหาทางอารมณ์สำหรับสุนัขอาจเริ่มส่งผลให้เห็นเป็นสัญญาณเตือนเราก่อนว่า ควรรีบแก้ไข หรือรักษาในเบื้องต้นก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในอนาคต

1.ไม่กินข้าว ไม่กินน้ำ นอนอย่างเดียว

อาการนี้อาจใช้ไม่ได้สำหรับสุนัขบางสายพันธุ์อย่างเช่น บีเกิ้ล หรือสายพันธุ์ที่กินเก่งเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่หากสุนัขมีปัญหาทางใจ หรืออารมณ์ในส่วนรู้สึกไม่ได้รับความปลอดภัยในการอยู่อาศัย หรือตกใจอันเนื่องจากการใช้เสียงดัง หรือลงโทษ ทำให้ความกลัว หวาดระแวงกดความหิวทั้งอาหาร และน้ำ

ถือว่าถ้าปล่อยไว้เกิน 2 วันควรพาไปปรึกษาสัตวแพทย์ในส่วนของร่างกายที่ต้องมีอาหารเสริมบำรุงทางการฉีดยา หรือกลับมาป้อนให้ แต่ในส่วนของจิตใจ หากหาสาเหตุเจอว่าอาจเกิดจากเราใช้อารมณ์ดุสุนัขมากไป หรือเผลอใช้เสียงดัง รวมถึงลงโทษทางร่างกาย จึงควรเข้าหาอย่างอ่อนโยน และกอด หอม บอกคุยด้วยว่าขอโทษนะที่ทำไป บอกรัก สิ่งเหล่านี้หากทำแล้วมีผลให้สุนัขเกิดความหวาดระแวงอย่างมาก จึงไม่ควรที่จะให้เกิดซ้ำอีกครั้ง

2.ตัวสั่น หรือหันหน้าเข้าหาผนัง กำแพง ใต้โต๊ะ ใต้เตียง ใต้โซฟา

ตรงนี้ถือว่าไม่ใช่อาการปกติ หลักๆ ที่ส่วนใหญ่สุนัขมีอาการเหล่านี้จะเกิดจากมีสิ่งมากระทบกับจิตใจ หรืออารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูก่อนที่จะมาถึงเรา หรือเราอาจมีการเลี้ยงดูที่ใช้เสียงดัง หรือมีการเลี้ยงดูที่เข้มงวดจนเกินไป ในบางกรณีอาจมีการโดนทำโทษทั้งทางเสียง หรือการกระทำจากการที่สุนัขทำสิ่งใดเสียหาย หรือไม่ถูกต้อง อาจต้องปรับตัวหากันโดยการที่อะไรที่ไม่อยากให้สุนัขทำลายเสียหายจำเป็นต้องเก็บไว้ที่มิดชิด หรือที่สูงเป็นพิเศษ 

การกัดกันระหว่างสุนัขถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สุนัขอาจมีอะไรที่ไม่เข้าใจกัน ผิดใจกัน ควรนำสุนัข 2 ตัวมานั่งแล้วเรานั่งตรงกลาง คุยให้เข้าใจใช้เสียงเข้ม แต่ไม่จำเป็นต้องดุโดยการใช้เสียงดัง การคุยแบบต่อหน้ากับสุนัขทั้ง 2 ตัว ส่วนใหญ่สุนัขจะจำ และกลัวอยู่แล้ว โดยเฉพาะหากเป็นคนเลี้ยง และเป็นเจ้าของโดยตรง

3.พฤติกรรมเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม

หากเราเลี้ยงสุนัขหลายตัว เราจะรู้ได้ว่าแต่ละตัวมีลักษณะบุคลิกภาพแบบไหน นิสัยยังไงบ้างอย่างเช่น สุนัขที่ก่อนหน้าเป็นสุนัขชอบอยู่ใกล้เรา ขี้อ้อน ซน ดื้อบ้าง แต่จู่ๆ มีมุมส่วนตัว เคยนอนบนเตียงกับเจ้าของก็ไม่นอนด้วย จะลงมานอนบนเตียงตัวเดียว แสดงว่าต้องมีปัญหาระหว่างสุนัขกับเจ้าของ ที่อาจมีเรื่องน้อยใจ ไม่เข้าใจกันที่สุนัขเกิดอาการงอน หรือเรียกร้องความสนใจ อีกทั้งอาจมีความรู้สึกหวาดระแวง กลัวเจ้าของจนไม่สามารถนอนบนเตียงเดียวกันได้

สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่ได้สิ่งที่ร้ายแรง เพียงแต่เราต้องมีเวลาใกล้ชิด และสังเกตสุนัขที่เราเลี้ยงเพื่อที่จะได้มีการแก้ไข และปรับความเข้าใจกันอย่างเร็วที่สุด เลี่ยงการปล่อยปัญหาแบบนี้ให้ยาวนาน เพราะปัญหาจิตใจของคน หรือสุนัขมีความคล้ายกัน  หากปล่อยให้เป็นปัญหานานก็อาจกลายเป็นสิ่งที่รักษา และแก้ไขได้ยากขึ้น

#สัญญาณว่าสุนัขมีปัญหา #เจ้าตูบ #สัตว์โลกน่ารัก