อย่างที่มีคำบอกว่า เมื่อสุนัขที่มีอายุมากขึ้น สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ เรื่องสภาพจิตใจ ตรงนี้อาจไม่ได้หมายความเพียงว่า การที่เราสามารถเลี้ยงดูได้ตลอดช่วงชีวิตของสุนัขนั่นคือความสมบูรณ์ในการดูแลสภาพจิตใจแล้ว แต่ยังมีความหมายที่ครอบคลุมถึง การมีปฏิสัมพันธ์ที่ควรมีการปรับเปลี่ยนมากกว่าเดิม
ซึ่งตรงนี้ในส่วนของเจ้าของเองในบางครั้งอาจไม่รู้สึก หรือคิดไม่ถึงในการแสดงออกทั้งในทางท่าทาง คำพูด หรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดทั้งความเข้าใจผิด และความไม่ตั้งใจที่แสดงอารมณ์ออกมาให้กระทบจิตใจของสุนัขที่เราเลี้ยงด้วย
อะไรที่เป็นตัวทำให้สุนัขที่เราเลี้ยงมีความรู้สึกที่อ่อนไหวมากกว่าเดิม หรือในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซี่งบางตัวอาจมีการแสดงออกที่น้อยในสิ่งที่เปลี่ยนไป แต่บางตัวก็มีอาการรุนแรงมากถึงขนาดไม่กล้าเข้าใจเจ้าของ ไม่พูดไม่คุย
ไม่กินข้าวเป็นเวลาหลายวัน ตรงนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ สุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจที่จะเกื้อหนุนกันให้มีระดับที่แย่ลง ดังนั้นในวันนี้สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ การป้องกันการเกิดปัญหานี้ โดยการมองเห็น และป้องกันปัญหาที่จะเกิด
1.การเล่น แสดงออกด้วยความรัก แต่สามารถแปลความหมายผิดได้
อันเนื่องจากที่เราบอกไว้แล้วว่า บางอย่างอาจเกิดจากการเข้าใจผิดเช่น เคยเล่นกันแบบ กอดรัดแรงๆ (สำหรับสุนัขขนาดตัวใหญ่) มาวันที่สุนัขที่เราดูแลเริ่มอายุมาก การเล่นแบบนี้อาจไม่เหมาะ ซึ่งในบางการแสดงออกด้วยความรักอย่าง แกล้งงอน หรือทำในสิ่งที่ช่วงเวลานั้นสุนัขอาจหงุดหงิดด้วยวัยที่มากขึ้น
และขัดต่อความรู้สึกสุนัข เจ้าของอาจแสดงท่าทางว่า งอนแล้ว ยกนิ้วโป้งแสดงอาการไม่พอใจ (ซึ่งจริงๆ อาจเป็นสิ่งที่เราแกล้งล้อเล่นอย่างที่เคยๆ ทำกันมา) แต่การตีความหมายผิดจากสุนัขว่าเป็นเรื่องจริง จนเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจของสุนัขเองว่า ทำให้เจ้าของไม่พอใจแล้ว ฉะนั้นในบางการตอบสนองเราจึงควรที่จะปรับการแสดงออกใหม่
2.การแสดงออกทางอารมณ์ของเจ้าของที่ไม่ตั้งใจ
อาจมีบางครั้งที่ในอดีตสุนัขเคยเอาใจเรา ทำในสิ่งที่เราต้องการให้ทำ หรือทำในสิ่งที่เอาใจเราเช่น วิ่งไปคาบของใช้ หรือช่วยงานอะไรก็ตามที่เคยฝึกไว้ เคยเข้ามาอ้อนแต่ด้วยวัยที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้สุนัขเปลี่ยนนิสัยตัวเองจากความขี้อ้อนเป็นต้องการเวลาส่วนตัวมากขึ้น นั่งนิ่งๆ มากขึ้น และมีเจ้าของทำงาน
หรือทำอะไรใกล้ๆ พอ บางครั้งเราใช้ให้ทำอะไรในสิ่งที่สุนัขเคยทำให้เราได้เช่น การไปรับพัสดุหน้าบ้านที่คนส่งมา หรือไปคาบของที่ห้องครัว (กรณีสุนัขขนาดตัวใหญ่) แล้วสุนัขอาจไม่ทำตามที่เราสั่งด้วยสาเหตุจากร่างกายที่เจ็บ หรือปวดตามวัยโดยที่เราไม่รู้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรแสดงอารมณ์ออกคำสั่ง หรือดุเสียงดังว่า เป็นสิ่งที่เคยฝึกไว้ทำไมในวันนี้ถึงไม่ทำ
สิ่งเหล่านี้หากเป็นข้อมูลที่สุนัขได้รับเข้าไปแล้ว ยากที่จะแก้ไข หรือลบความกลัวที่ได้เห็น ได้ยินทิ้งจนหมด โดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุมากขึ้น จะมีความอ่อนไหวทางอารมณ์และจิตใจมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันเกิดความรู้สึกทางลบเลี่ยงที่จะให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้จะดีที่สุด
ขอบคุณเครดิตภาพจาก: petmemorialaustralia.com.au
#สัตว์โลกน่ารัก #ทาสหมา #คลิปหมา