หัวใจสำคัญที่ทำให้สุนัขสูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง 1

หัวใจสำคัญที่ทำให้สุนัขสูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง 1

เมื่อวันแรกที่เราได้อ้าแขนต้อนรับสุนัข สัตว์เลี้ยงที่เราเห็นทั้งความน่ารักที่มาพร้อมกับความซุกซน ตัวเล็ก ขี้อ้อน ด้วยนิสัยต่างๆ เหล่านี้ที่มาพร้อมกับวัยที่ยังเล็กอยู่ จนมาถึงวันที่เราได้เลี้ยงดูมาเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไปอาจไม่ใช่เพียงแค่ระยะเวลาเท่านั้นที่เพิ่มมากขึ้นในการเลี้ยงดู แต่เป็นวัย และอายุของสุนัขที่เพิ่มมากขึ้นไปพร้อมกับความแปรเปลี่ยนในหลายสิ่งหลายอย่างทั้งกายภาพ และพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะเป็นสัญญาณให้กับเจ้าของได้เริ่มรับรู้แล้วว่า ควรถึงเวลาที่จะปรับเปลี่ยนทั้งการเลี้ยงดู และการดูแลในเรื่องจิตใจร่วมด้วย

โดยส่วนใหญ่ก่อนที่สุนัขจะเริ่มเข้าสู่วัยที่เรียกว่า เริ่มชราภาพ หรือสูงวัยแล้วควรที่จะมีการเตรียมตัวขั้นพื้นฐานก่อนที่จะให้สุนัขได้ค่อยๆ มีการปรับตัวทั้งกับอารมณ์ การกินอยู่ และนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไป (ซี่งตัวสุนัขเองก็อาจจะไม่รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีก 2 ปีข้างหน้านี้) รวมถึงการปรับตัวของเจ้าของที่จะเปลี่ยนแปลงการดูแลเสมือนได้สุนัขตัวใหม่มาอยู่ร่วมด้วย เพราะเกือบจะทุกอย่างที่จะต้องปรับเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นการดูแล การมีปฏิกิริยาตอบสนอง การกินอยู่ (กายภาพ)

ด้านการกิน

ถือว่าเป็นรื่องสำคัญในอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ในส่วนของเราที่เมื่อทำงานมาก พักผ่อนน้อย สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ หาอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกายในช่วงนั้นมากเป็นพิเศษ หรือถ้าเป็นพ่อแม่ของเราก็จะมีเตือนว่า อย่าบำรุงในช่วงเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ แต่เราควรที่จะดูแล บำรุงร่างกายเก็บเป็นแบตเตอร์รี่เพื่อเติมในช่วงเวลาที่ต้องการเร่งด่วน เพราะถ้าในกรณีที่ร่างกายต้องการในตอนนั้นการกินสิ่งมีประโยชน์ตอนนั้นอาจไม่ทันการณ์ในเรื่องของปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงตัวอวัยวะต่างๆ ก็มีความเสื่อมสภาพมากเกินกว่าที่จะเยียวยา

สุนัขก็เช่นกัน เรื่องการกินถือว่า เป็นเรื่องหนี่งที่จะสามารถช่วยทำให้สภาพความเสื่อมในอวัยวะต่างๆ ช้าลงได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนเนื้อสมอง เซล์ลสมอง ข้อต่อ กระดูก ดวงตา ถือว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อสุนัขในวัยที่มากขึ้น

การกินนอกจากจะมีความจำเป็นต้องเสริมในเรื่องของอาหารเสริม หรือกลุ่มจำพวกวิตามินเพื่อเข้าไปเสริมตามอวัยวะสำคัญๆ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั้น การนำอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะกับสภาพอวัยวะของสุนัขที่เปลี่ยนแปลงได้มีความสำคัญอย่างมาก

1.อาหารที่มีความเหมาะตามวัย

ที่ต้องนำหัวข้อนี้ขึ้นเป็นอันดับแรก เพราะว่าเมื่อถึงช่วงวัยที่มากขึ้นสำหรับสุนัขแล้ว อวัยวะอย่างฟันก็จะมีการหลุดร่วงตามวัย ดังนั้นความสามารถในการขบเคี้ยวอาหารอาจไม่เท่าเดิม สิ่งที่ตามมาคือ การเปลี่ยนรูปแบบอาหาร และอาจรวมถึงรูปแบบการให้อาหาร หรือการป้อนอาหารร่วมด้วย จากที่เคยให้อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์สดๆ บดเคี้ยวยาก อาหารรูปแบบเม็ดที่ต้องใช้แรงจากฟัน เมื่อสุนัขไม่มีฟัน สิ่งที่จะรับหน้าที่นั้นคือ เหงือก และอาจทำให้เหงือกอักเสบได้เมื่อมีการใช้บดอาหารแทนฟันในทุกวัน

อาหารเปียก หรืออาหารที่เป็นของเหลวรวมถึงอาจมีส่วนผสมของเนื้อผลไม้ (ที่สุนัขกินได้ ไม่มีอันตราย) ร่วมด้วยเพื่อเสริมสารอาหารร่วมกับตัวเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารเปียก เพราะนอกจากจะช่วยสนับสนุนให้สุนัขมีภาวะการกินอาหารที่ดีขึ้น จะมีผลช่วยเสริมให้การขับถ่ายที่ดีตามไปด้วย แต่ถ้าเกิดกรณีที่สุนัขกินยากต่อการเปลี่ยนตัวอาหาร การป้อนอาหารที่เราจำเป็นต้องเพิ่มเวลาในช่วงการกินอาหารให้สุนัขมากขึ้น ถือเป็นข้อดีที่มีการใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น ได้มีการป้อน และใกล้ชิดมากขึ้นกว่าเดิม

2.อาหารที่ไม่จำเจ

เมื่อเราได้สูตรอาหาร หรือวิธีการปรับเปลี่ยนตัวอาหารให้กับสุนัขที่อายุของเราได้ผลแล้ว ควรที่จะมีหลายสูตรเพื่อปรับเปลี่ยนสลับกัน ทั้งนี้นอกจากเพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขเกิดความเบื่อในตัวอาหารแล้ว ยังช่วยให้สุนัขได้มีโอกาสได้รับสารอาหารใหม่ๆ ที่หลากหลายมากกว่าเดิม

#สุนัขสูงวัย #เจ้าตูบ #สัตว์โลกน่ารัก