เมื่อเรา (และสุนัข) ไม่เข้าใจกัน ควรทำอย่างไรดี

เมื่อเรา (และสุนัข) ไม่เข้าใจกัน ควรทำอย่างไรดี

ปัญหาสำหรับคนเลี้ยงสุนัขที่มักจะเกิดขึ้นกับทุกบ้านโดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งรับสมาชิกใหม่เข้ามาไม่ว่าบ้านนั้นจะมีสมาชิกที่เป็นสัตว์เลี้ยงอยู่แต่เดิมแล้วหรือไม่ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกันคือ ความที่ทั้งเราและสัตว์เลี้ยงไม่เข้าใจกัน ปัญหานี้ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่เรารับเข้ามาเท่านั้น แต่ในบางบ้านสามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยง หรือสุนัขที่เราเลี้ยงมาด้าหลายปีแล้วแต่ยังคงมีบางเรื่องที่ทั้งเจ้าของ และตัวสุนัขเองไม่เข้าใจกัน หรือมีการเก็บปัญหานั้นสะสมมานานโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไข มาวันนี้เราจะมาเก็บกวาดความไม่เข้าใจระหว่างเจ้าของ และสัตว์เลี้ยงให้สะอาดหมดจดกัน

1.รู้ว่าสิ่งที่ไม่เข้าใจกันคือเรื่องอะไรบ้าง

ความไม่เข้าใจระหว่างเจ้าของสัตว์เลี้ยง กับตัวสัตว์เลี้ยงเองมีกันทุกบ้านเพราะในกรณีที่เราคุยภาษาเดียวกันกับเพื่อนสนิทก็ยังมีเกิดความไม่เข้าใจกันได้ กับสัตว์เลี้ยงที่สื่อสารกันคนละภาษาแต่อาศัยการจดจำ เรียนรู้ มองหน้าที่จะทำให้สามารถรับรู้กันได้ย่อมมีการเกิดความไม่เข้าใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้ว่าหัวเรื่องที่ไม่เข้าใจกันมีเรื่องอะไรกันบ้างอย่างเช่น สุนัขบางตัวต้องการความอิสระในบางช่วงเวลาที่เจ้าของอาจให้ไม่ได้ และเมื่อเจ้าของไม่เข้าใจในความต้องการของสุนัข อาจมีการจำกัดพื้นที่ร่วมด้วย ผลตามมาคือทำให้สุนัขตัวนั้นหงุดหงิด หรือมีอารมณ์ที่ผิดแปลกไป เช่น นิสัยดุร้าย กัดเด็ก หรือกัดคนแปลกหน้า รวมถึงทำลายสิ่งของต่างๆ เป็นการแสดงออกเพื่อระบายอารมณ์ที่อยู่ภายใน หากแต่เราเรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติของสุนัขพันธุ์นั้นๆ เบื้องต้นและมีการผ่อนปรน หรือหาทางออกให้ได้ตรงกลาง ปัญหาที่เกิดจะคลี่คลายด้วยดี

2.มีเวลาว่างอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 1 วันต่ออาทิตย์

การมีเวลาอยู่ด้วยกันเป็นสิ่งที่ดีที่ช่วยให้เราใช้เวลาศึกษา เข้าใจกันและกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกับสัตว์เลี้ยง เพื่อน หรือคนในครอบครัว หากเรายังไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเรากับสุนัขเกิดจากอะไร หาเวลาวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ ใช้เวลาเล่น หรือกิจกรรมนอกบ้าน นั่งกิน คุยกันให้มากที่สุดในวันหยุดวันนั้น อย่างสุนัขเรามีปัญหาเรื้อรังที่ไม่ฟัง ดื้อ หรือทำลายข้าวของ เราลองใช้เวลาร่วมกันกับสุนัขของเรา สังเกตดูว่ามีอะไรที่เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่สุนัขเราจะทำลายข้าวของ หรือไม่ฟัง เช่นอาจเป็นที่ตัวเราไม่สนใจสุนัขแต่ให้ความสนใจกับงาน หรือคอมพิวเตอร์ที่อยู่ตรงหน้ามากกว่า สุนัขจะไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์คือเครื่องมือทำงานแต่จะมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งที่มาแย่งความรักเจ้านายไป 

3.ดูแลให้ความรักในระดับที่สมดุล

ในบางทีการเกิดความไม่เข้าใจกันอาจมาจากที่ตัวเราเองให้ความรักกับสัตว์เลี้ยงมากเกินไปจนทำให้สัตว์เลี้ยงเคยชิน และคิดว่าต้องได้มากกว่าเก่าไปเรื่อยๆ ตัวเราเองเท่านั้นที่รู้ได้ว่าความรัก การเอาใจใส่ หรือเอาใจสัตว์เลี้ยงเราอยู่ในระดับที่พอดีหรือไม่ เพราะหากเราให้เกินพอดีไม่ว่าจะเป็นความรักที่มีผลดีแค่ไหนก็อาจก่อให้เกิดผลเสีย หรือนิสัยที่ไม่ดีให้กับสัตว์เลี้ยงของเราตามมาได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งตัวเรา และสัตว์เลี้ยงต้องมีการปรับตัว และจูนเดินเข้ามาหากันทั้ง 2 ฝ่ายโดยที่เราเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องรู้ก่อนว่าปัญหาความไม่เข้าใจกันนั้นเป็นเรื่องอะไรบ้าง และหาเวลาเพื่อดูสาเหตุว่าที่มาของความไม่เข้าใจเรื่องนั้นๆ มาจากไหน และเข้ารับการแก้ไขปรับเปลี่ยนทั้ง 2 ฝ่าย เพราะความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากความร่วมมือทั้งตัวเราเอง และสัตว์เลี้ยง 

#สุนัข #สัตว์เลี้ยงน่ารัก #สัตว์โลกน่ารัก